ดัดแปลงสภาพรถ ... ข้อหาบางๆที่นักแต่งรถขยาดจริงๆ

  • โดย : Autodeft
  • 2 ต.ค. 59
  • 99,759 อ่าน

กลายเป็นประเด็นขึ้นมากับสีกากี กันอีกแล้ว หลังจากมีคนขอท้าชนเจ้ากน้าที่ตำรวจในการเปิดโปงความจริงการจับกุมรถยนต์บรรทุกการพาณิชย์ โดยถ่ายทอดสดออกทางสื่อสังคมออนไลน์

 

ที่มาที่ไปของการจับกุมดังกล่าวอาจจะไม่ชัดเจนนัก แต่ข้อกฎหมายหนึ่งที่ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์กันสูง ก็หนีไม่พ้นข้อหา “ดัดแปลงสภาพรถ” ที่ถูกนำมาพูดถึงต่อกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะการดัดแปลงสภาพรถด้วยการเสริมแหนบและเพิ่มจำนวนโช๊คอัพเพื่อรองรับการบรรทุกมากยิ่งขึ้น ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ข้อหา ดัดแปลงสภาพรถยนต์ เป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมายาวนาน และเป็นที่ขยายของนักแต่งรถยนต์ทั้งหลายที่ชื่นชอบการปรับปรุงตัวรถให้สวยงาม บ้างเสริมสมรรถนะในการขับขี่เพื่อให้มีความปลอดภัย และหรือสอดคล้องกับความต้องการของตัวเองมากขึ้น คำถามสำคัญที่มักเป็นประเด็นก็หนีไม่พ้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไร ที่ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย..

แต่งรถไม่ผิดกฎหมาย ถ้าไม่ล้ำเส้น

สิทธิในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวรถเป็นของเจ้าของรถยนต์หรือพวกเราเอง แต่ทั้งหมดนั้นยังถูกจำกัดสิทธิในการปรับปรุงด้วยพระราชบัญญัติรถยนต์  พ.ศ.  2522  มันตราออกมาเพื่อบอกว่ารถยนต์ที่สามารถใช้ในทางตามประมวลกฎหมายการจราจรทางบก พ.ศ.  2522  ต้องมีคุณลักษณะใดบ้าง และข้อเกี่ยวเนื่องที่สำคัญกับคุณลักษณะรถยนต์ในเรื่องการดัดแปลงสภาพรถยนต์ท ตำรวจมักหยิบยกเอามาเป็นข้อหาจับคุณก็มาจากมาตรา 14 

ตามาตร 14   ใน  พระราชบัญญัติรถยนต์  พ.ศ.  2522  ระบุไว้ว่า  ถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วน หนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนํารถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน

โดยนอกจากมาตรา 14 แล้ว ยังมีการเกี่ยวเนื่องกับมาตรา 12 ระบุว่า รถใดที่จะทะเบียนแล้ว หากปรากฏว่าภายหลังรถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ถูกต้องตามกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว

ตลอดจน ในมาตรา 15 ยังระบุว่า   ในกรณีที่นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเห็นว่ารถใดในขณะที่ใช้มี ลักษณะที่เห็นได้ว่าน่าจะไม่ปลอดภัยในการใช้ให้มีอํานาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของรถนํารถนั้นไปให้นายทะเบียน หรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกตรวจสภาพภายในเวลาที่กําหนดได้

ตามข้อกฎหมายดังกล่าว จะเห็นว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการดัดแปลงสภาพรถยนต์ เป็นเจ้าหน้าที่ขนส่งโดยตรง แต่ในระยะหลังทางกรมการขนส่งได้ มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาควบคุมดูแล ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง  มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว

เข้าใจให้ถูก ...ดัดแปลงสภาพรถ

เมื่อมองตามกฎหมายที้ดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น เชื่อว่า คุณน่าจะเห็นส่วนสำคัญ คือการใช้คำว่า ส่วนควบและรายการที่จดทะเบียน

ส่วนควบ คือ อะไร .....  ส่วนควบคือ สิ่งที่รถยนต์ต้องมีในรถยนต์ที่คุณใช้ บนถนน และหากไม่มีถือว่ามีความผิด ตามพระราชบัญญัติส่วนควบและอุปกรณ์สำหรับรถยนต์ พ.ศ. 2551 ..  โดยรายละเอียดใน พรบ. ฉบับนี้อ่านเข้าใจง่าย หลักๆ คือการบรรยายลักษณะรถ ที่ถูกฎหมายและสามารถใช้งานได้ในราชอาณาจักรไทย

อีกรายการที่ผมพูดถึงไป คือ รายการจดทะเบียน กล่าวคือรายที่ทางนายทะเบียนขนส่ง จดลักษณะของรถยนต์ไว้ เพื่อใช้เป็นการขึ้นทะเบียนเกี่ยวกับตัวรถยนต์ และใช้ชำระภาษีอากรประจำปี

[IMAGE1]

ในรายการนี้ คุณสามารถดูได้จากสมุดทะเบียนรถ หรือบนสำเนาทะเบียนรถ คุณจะเห็นว่า หลักๆ คือ ชื่อยี่ห้อรถ หมายเลขตัวถัง  เครื่องยนต์ เลขเครื่องยนต์  ลักษณะเครื่องยนต์ จำนวนสูบและซีซี เครื่องยนต์  นอกจากที่กล่าวไปแล้ว ยังมีจำนวนเพลา ล้อและยาง รวมถึง น้ำหนักตัวรถ และ น้ำหนักรวม ...

ปัญหาข้อหาสำคัญ “ดัดแปลงสภาพรถ” มักจะเริ่มต้นด้วยความไม่รู้ของประชาชนทั่วไป ที่ไม่ได้ศึกษากฎหมายอย่างจัง แบบทนาย ตำรวจ หรือ ผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้อกับทางกฎหมาย จนกลายมาเป็นช่องโหว่ที่สำคัญให้ตำรวจใช้พูดกับประชาชน จนฟังดูพวกเขาผิด จนหลายครั้งสามารถกอบโกยค่าปรับเป็นรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ ดูตามความคิดพวกเขาว่ามันน่าจะผิดฏหมาย และจัดข้อหาดัดแปลงสภาพรถ ที่ฟังดูจริงจัง จนหลายคนหลงเชื่อ ทั้งที่เพียงคุณรู้เท่าทันก็สามารถรอดพ้นจากเจ้าหน้าที่ได้

 

เบิ้ลโช๊ค ผิดกฎหมาย ดัดแปลงสภาพรถ...จริงหรือ

ในกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพผ่านทาง   Social   จะเห็นได้ว่า ข้อการดัดแปลงสภาพรถ นั้นถูกพูดถึงเรื่องการเสริมแหนบ และเบิ้ลโช๊ค ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถทางเทคนิคของตัวรถ ผมลองมาดูประมวล พระราชบัญญัติส่วนควบและอุปกรณ์สำหรับรถยนต์ พ.ศ. 2551 พบ วงเล็บ 7 ตามข้อ 3 ของ กฎกระทรวงดังกล่าว ระบุถึงระบบรองรับน้ำหนัก ซึ่งก็น่าจะหมายถึงระบบกันสะเทือน หรือ ระบบช่วงล่างว่า สามารถรองรับการสั่นสะเทือน และรองรับน้ำหนักขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

ส่วนตามรายการจดทะเบียน ก็มีการชี้ชัดอยู่แล้วว่า รถยนต์ที่จะทะเบียน จะมีอัตราน้ำหนักบรรทุกเท่าไร มีจำนวนเพลาะและล้อยางเท่าไร เท่านั้น

[IMAGE2]

ถามว่าการเสริมแหนบเบิ้ล โช๊ค ผิดจากรายการจดทะเบียนหรือไม่ ถ้ามองๆ กันเผินๆ ก็คงจะไม่ได้ผิดอะไร พราะว่าในรายการจะทะเบียน จะระบุเพียงจำนวนล้อยาง และเพลาที่ใช้ แต่ไม่ได้ระบุคุณลักษณะของระบบช่วงล่างที่ชัดเจน เช่นรูปแบบระบบ อาทิ ระบบกันสะเทือนแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท หรือใช้ จำนวนโช๊คกี่ต้น ในรถยนต์คันดังกล่าว

ทว่าเมื่อไม่นานมานี้ มีประกาศจากกรมการขนส่ง เรื่อง การดัดแปลงแก้ไขสภาพรถ และการติดตั้งอุปกรณ์ตบแต่งรถยนต์หรืออุปกรณ์ความสะดวกต่างๆ ตามหนังสือที่มีออกมาดังกล่าว มีการระบุชัดว่า รายการที่จำเป็นต้องแจ้งต่อนายทะเบียน  ได้แก่ เปลี่ยนเครื่องยนต์ ,เปลี่ยนสี ,ติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็กด้านข้างรถ ,ฝาปิดด้านท้ายติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงยกสิ่งของ ,เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง ตลอดจน แก้ไขดัดแปลงตัวถังรถ ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบกันสะเทือน ระบบบังคับเลี้ยว ระบบขับเคลื่อน

นั่นหมายความถึงหากมีการดัดแปลง ระบบช่วงล่าง จะเป็นต้องมีการแจ้งนายทะเบียน หมายถึงกรณีกระบะเบิ้ลโช๊คทุกรณีถือว่า มีความผิดตามการดัดแปลงสภาพรถยนต์ ...

และหากมองให้ลึก การดัดแปลงดังกล่าว ทำให้รถคันดังกล่าวมีความสามารถในการบรรทุกเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ทางผู้ผลิตชี้ว่าเหมาะสมต่อการใช้งานอย่างปลอดภัย อาทิ  Ford  มีการเผยข้อมูลว่า  Ford Ranger   สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 1.3 ตันเป็นต้น แต่ถ้าผู้ใช้ไปเสริมสมรรถนะด้วยการเบิ้ลโช๊ค เสริมแหนบ อาจจะรองรับน้ำหนักได้ถึง 2 ตัน   และการทำให้ประสิทธิภาพการบรรทุกเพิ่มขึ้น ก็ถือว่า ผิดจากสาระสำคัญในรายการจดทะเบียน ที่มีการระบุอัตราน้ำหนักบรรทุกไว้อย่างชัดแจ้ง

ดัดแปลงหรือไม่ ใครตัดสิน ...ขอเพียงคุณรู้จริงก็รอดได้

การดัดแปลงสภาพรถ ฟังแล้วบางทีก็ว่าใกล้เคียงกับการแต่งรถ บางคนว่าเป็นเรื่องของกฎหมายบางๆ ระหว่างความชอบและสิทธิส่วนบุคคลในการทำรถยนต์ของพวกเขาตามสิทธิที่พึงมี

สำหรับเจ้าหน้าที่คงต้องกล่าวว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ในการควบคุมดูแลกฎหมายให้เป็นไปตามความอันสมควร ตามที่ทางกรมการขนส่งได้มอบหมายให้มาดำเนินการ

ปัญหาที่คุณอาจจะอยากรู้คือแบบไหน น่าจะเข้าข่ายดัดแปลงสภาพ ผมเองก็คงไม่สามารถฟันธงได้ทุกรณี เนื่องจากส่วนหนึ่งของกฎหมายไทยมักไปขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที จนกลายเป็นเส้นบางๆ ระหว่างแต่งรถอย่างถูกฎหมาย กับการดัดแปลงสภาพรถ ซึ่งหากคุณเป็นนักแต่งรถตัวยง คง จะต้องศึกษากฎหมายส่วนควบเอาไว้บ้าง จะได้ต่อล้อต่อเถียงเจ้าหน้าที่ได้บ้าง ว่าคุณมิได้ทำผิดกฎหมายตามดุลพินิจของท่าน ทว่าไม่ว่าคุณจะแต่งรถสไตล์ไหนชอบแบบใด ให้คำนึกถึงเรื่องความปลอดภัย หรือ ติดตั้งส่วนควบหรืออุปกรณ์ใดที่ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ตามมาตร 15 และ 12 ของ พระราชบัญญัติรถยนต์ ... ผมเชื่อว่าตำรวจ ก็คงไม่อยากเสียเวลาข้อแวะกับคุณหรอกครับ

แต่น่าจะดีกว่า ถ้ามีกระบุคุณลักษณะ รถยนต์ที่เข้าค่ายการดัดแปลงสภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รู้ทราบบบทั่วกัน และเจ้าหน้าที่ใช้เป้นมาตรฐานสำคัญในการปฏิบัติงาน

การแต่งรถกับดัดแปลงสภาพรถ อาจจะเป็นความเหมือนที่แตกต่างกันว่าผิด หรีอไม่ผิดกฎหมายประการใด หากวันนี้คุณเรียนรู้กฎหมาย เข้าใจมันถูกต้อง และเจรจาอย่างมทีชั้นเชิงหากถึงคราวเข้าตาจน ข้อหาดัดแปลงสภาพรถ ก็อาจจะข้องแวะกับคุณน้อยลง ..แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจเจ้าหน้าที่ตำรวจคนนั้นๆ ด้วย

เรื่อง โดย ดินน้ำมัน

 

ติดตามเรื่องราว ข่าวสาร และความรู้ รถยนต์ได้กับพวกเรา ได้ที่  www.Autodeft.com 

หรือผ่านทาง   Fanpage Facebook กดไลค์และ  Follow   ได้ที่   www.facebook.com/autodeft 

 

 

ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com

5 เรื่องน่าสนใจ