โตโยต้า ปรับประมาณการยอดขายอยู่ที่ 800,000 คันในปี 2558 พร้อมยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค

  • โดย : สุกิจ เลิศธนะแสงธรรม
  • 30 ก.ค. 58
  • 4,375 อ่าน

โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) แถลงสถิติการจำหน่ายรถยต์ครึ่งปีแรกของปี 2558 มีปริมาณกรขาย 369,109 คัน พร้อมปรับประมาณการอยู่ในระดับไม่เกิน 800,000 คัน

 

 

โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) แถลงสถิติการจำหน่ายรถยต์ครึ่งปีแรกของปี 2558 มีปริมาณกรขาย 369,109 คัน พร้อมปรับประมาณการอยู่ในระดับไม่เกิน 800,000 คัน

มร.เคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น, กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์เอเชียแปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอเนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง, กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ยอดขายรถยนต์ครึ่งแรกของปี ในประเทศไทยมียอดขายรวมอยู่ที่ 369,109 คัน มีอัตราการเติบโตลดลง 16.3% โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มียอดขายลดลง 13.6% ตลาดรถยนต์นั่งมียอดขายลดลง 20.1% หากเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2557 จะพบว่ายอดขายได้ปรับตัวลง เป็นผลจากกำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงจำกัด รวมถึงความกังวลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทำให้ภาคครัวเรือนและภาคเอกชน ระมัดระวังในการใช้จ่ายและการลงทุน

 

สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2558

 

ปริมาณการขาย (คัน)

เปลี่ยนแปลง

เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของ 2557

ปริมาณการขายรวม

369,109

-16.3%

รถยนต์นั่ง

146,862

-20.1%

รถเพื่อการพาณิชย์

222,247

-13.6%

รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)

171,601

- 19.1%

รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

156,247

- 15.9%

 

สำหรับรถ โตโยต้า ในประเทศไทย มียอดขาย 123,125 คัน ลดลง 24.9% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 53,285 คัน ลดลง 30.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 69,840 คัน ลดลง 20.2% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง 59,376 คัน ลดลง 17.8 %) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 64,435 คัน ลดลง 22.0%

สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก โตโยต้า ได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 163,403 คัน ลดลง 29% คิดเป็นมูลค่า 76,722 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 33,570 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่ 110,292 ล้านบาท"

แนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2558 มร. ทานาดะ คาดการณ์ว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการเร่งเบิกจ่ายเงินลงทุนจากภาครัฐ ที่ส่งผลในเชิงบวกต่อภาพรวมของการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่จากหลายค่ายรถยนต์ และการส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบต่อเนื่องในต้นปี ทำให้ตลาดรถยนต์ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ จะมียอดขายรวมทั้งหมดอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 800,000 คัน

 

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2558

 

ปริมาณการขาย (คัน)

ปริมาณการขายรวม

800,000

รถยนต์นั่ง

304,400

รถเพื่อการพาณิชย์

495,600

รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)

393,100

รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

350,800

 

โตโยต้า ปรับเป้าหมายการขายสำหรับตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ไว้ที่ 280,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 105,700 คัน รถเพื่อการพาณิชย์ 174,300 คัน และ รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง 138,100 คัน) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 164,200 คัน

มุ่งเน้นการส่งออก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

มร. ทานาดะ กล่าวต่อไปว่า "ในครึ่งปีหลัง โตโยต้า พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต โดยจะมุ่งเน้นการส่งออก เพื่อรักษายอดขายรวมของบริษัทฯ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิของประเทศไทยให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้ายังคงอยู่ที่ประมาณ 390,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 192,300 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนมูลค่า 66,170 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 258,470 ล้านบาท"

พร้มยกระดับประเทศไทยเป็นสำนักงานใหญ่แห่งที่ 2 ในภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิค

มร. ทานาดะ กล่าวย้ำความเชื่อมั่นในประเทศไทย โตโยต้า มีความเชื่อมั่นในประเทศไทย พร้อมที่จะลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศไทย เพื่อให้ไทยเป็นสำนักงานใหญ่ของโตโยต้าในภูมิภาคนี้ ด้วยการดำเนินการของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง ที่มีคนไทยเป็นส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนาและยกระดับการปฏิบัติงานในภาคพื้นเอเซีย แปซิฟิค ทั้งในด้าน

(1) การวิจัยและพัฒนา
(2) วิศวกรรมการผลิต
(3) การพัฒนาขีดความสามารถผู้ผลิตชิ้นส่วน

รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ให้มีความรู้ ความสามารถ ในระดับสากล เพื่อให้ภูมิภาคนี้มีรถคุณภาพระดับโลก ที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาจากฝีมือคนไทย และนี่คืออีกหนึ่งความภูมิใจของเราที่จะเติบโตไปพร้อมกับคนไทยและสังคมไทยอย่างยั่งยืน"

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนมิถุนายน 2558

ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 60,322 คัน ลดลง 18.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า     21,831 คัน

ลดลง 20.7%

ส่วนแบ่งตลาด 36.2%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        10,833 คัน

ลดลง 19.1%

ส่วนแบ่งตลาด 18.0%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า     7,918 คัน

ลดลง 12.9%

ส่วนแบ่งตลาด 13.1%

 

ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 21,283 คัน ลดลง 35.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า   7,472 คัน

       ลดลง 41.6%        

ส่วนแบ่งตลาด 35.1%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   5,016 คัน

ลดลง 40.7%

ส่วนแบ่งตลาด 23.6%

อันดับที่ 3 มาสด้า   2,070 คัน

เพิ่มขึ้น 44.1%

ส่วนแบ่งตลาด 9.7%

 

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 30,279 คัน ลดลง 10.0%

อันดับที่ 1 โตโยต้า     13,456 คัน

           ลดลง 2.5%           

ส่วนแบ่งตลาด 44.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        9,758 คัน

ลดลง 21.2%

ส่วนแบ่งตลาด 32.2%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ     2,794 คัน

เพิ่มขึ้น 10.9%

ส่วนแบ่งตลาด  9.2%

ปริมาณการขายกระบะดัดแปลงในตลาดกระบะ 1 ตัน 2,340 คัน :

อีซูซุ 926 คัน - มิตซูบิชิ 676 คัน - โตโยต้า 632 คัน - เชฟโรเลต 106 คัน

 

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,939 คัน ลดลง 6.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า   12,824 คัน

         เพิ่มขึ้น 5.8%         

ส่วนแบ่งตลาด 45.9%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        8,832 คัน

ลดลง 17.9%

ส่วนแบ่งตลาด 31.6%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ    2,118 คัน

เพิ่มขึ้น 2.6%

ส่วนแบ่งตลาด  7.6%

 

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,039 คัน ลดลง 4.5%

อันดับที่ 1 โตโยต้า     14,359 คัน

            ลดลง 2.7%           

ส่วนแบ่งตลาด 36.8%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        10,833 คัน

ลดลง 19.1%

ส่วนแบ่งตลาด 27.7%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า      2,902 คัน

เพิ่มขึ้น 362.1%

ส่วนแบ่งตลาด  7.4%

 

สถิติการจำหน่ายรถยนต์เดือนมกราคม-มิถุนายน 2558

ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 369,109 คัน ลดลง 16.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า   123,125 คัน

ลดลง 24.9%

ส่วนแบ่งตลาด 33.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        69,281 คัน

ลดลง 16.7%

ส่วนแบ่งตลาด 18.8%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า    54,793 คัน

เพิ่มขึ้น 15.9%

ส่วนแบ่งตลาด 14.8%

 

ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 146,862 คัน ลดลง 20.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า   53,285 คัน

         ลดลง 30.3%        

ส่วนแบ่งตลาด 36.3%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   38,798 คัน

ลดลง 7.7%

ส่วนแบ่งตลาด 26.4%

อันดับที่ 3 มาสด้า   10,986 คัน

เพิ่มขึ้น 55.6%

ส่วนแบ่งตลาด  7.5%

 

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 171,601 คัน ลดลง 19.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า     64,435 คัน

         ลดลง 22.0%        

ส่วนแบ่งตลาด 37.5%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        63,181 คัน

ลดลง 18.2%

ส่วนแบ่งตลาด 36.8%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ   15,819 คัน

ลดลง 11.7%

ส่วนแบ่งตลาด  9.2%

ปริมาณการขายกระบะดัดแปลงในตลาดกระบะ 1 ตัน 15,354 คัน :

อีซูซุ 6,215 คัน - โตโยต้า 5,059 คัน - มิตซูบิชิ 3,366 คัน - เชฟโรเลต 698 คัน - ฟอร์ด 16 คัน

 

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 156,247 คัน ลดลง 15.9%

อันดับที่ 1 โตโยต้า     59,376 คัน

         ลดลง 17.8%        

ส่วนแบ่งตลาด 38.0%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        56,966 คัน

ลดลง 13.9%

ส่วนแบ่งตลาด 36.5%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ    12,453 คัน

ลดลง 14.9%

ส่วนแบ่งตลาด  8.0%

 

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 222,247 คัน ลดลง 13.6%

อันดับที่ 1 โตโยต้า     69,840 คัน

        ลดลง 20.2%        

ส่วนแบ่งตลาด 31.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        69,281 คัน

ลดลง 16.7%

ส่วนแบ่งตลาด 31.2%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า    15,995 คัน

เพิ่มขึ้น 240.0%

ส่วนแบ่งตลาด  7.2%

 

ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com

 

 

[GALLERY1533]

5 เรื่องน่าสนใจ