“รถใหม่” เบาหวิว...เรื่องที่ควรใส่ใจมากกว่าที่คิด ...(ตอนที่ 1 )

  • โดย : Autodeft
  • 15 ต.ค. 56
  • 8,763 อ่าน

เปิดความจริงของเทคโนโลยียานยนต์ในรถยุคใหม่ ความเบาแลกความประหยัด ที่คุณควรรู้..ตอนที่ 1

 

 

                ทุกวันนี้ ในขณะที่พวกเราตื่นตาตื่นใจกับหลากว่าที่ รถใหม่ ที่กำลังจะมาถึงบ้านเราและอีกมากมายหลายรุ่นที่วางจำหน่ายในประเทศ ตั้งแต่รถยนต์นั่งขนาดเล็กระดับอีโค่คาร์จิ๋วแจ๋วประหยัดพลังงาน ไปจนถึงรถราคามูลค่าหลายล้านบาท ทั้งหมดล้วนถูกพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ในการแข่งขันที่ต้องการให้รถยนต์รุ่นใหม่สนองความประหยัดน้ำมันมากกว่าเดิมแต่ยังคงสมรรถนะหรือเพิ่มให้มันดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ

                  แม้น้อยคนจะพูดถึง หลักการอากาศพลศาสตร์ที่เราเริ่มคุ้นเคยตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้ว แต่การวิศวกรรถยนต์ในยุคใหม่ การลดน้ำหนักโครงสร้างรถที่ผลิตในปัจจุบันก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน จากปัจจัยความต้องการให้รถยนต์ประหยัดน้ำมัน แต่ยังคงสมรรถนะการขับขี่ดี ยิ่งประกอบกับมาตรฐานไอเสียที่ถูกควบคุมเข้มข้นขึ้นทั่วโลก ก็ยิ่งบีบขั้นให้วิศวกรต้องทำงานหนักขึ้น

                จะทำอย่างไรให้รถรุ่นใหม่ๆมีสมรรถนะที่ดีเมื่อเทียบกับรุ่นเดิม โดยสามารถผลิตออกมาวางจำหน่ายได้ภายใต้ภาวะความกดดันต่างๆ หนึ่งในทางออกที่เราเริ่มเห็นมากขึ้นในปัจจุบันเป็นจิตวิญญาณใหม่ที่ถูกปลุกปั้นในโครงสร้างตัวถังที่ถูกพัฒนาให้เบาลงกว่าเดิม

                Lightweight Technology  หรือเทคโนโลยีน้ำหนักเบา เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากการออกมาเปิดเผยของหลายค่ายรถที่เริ่มหยิบยกขึ้นมาเป็นจุดขาย ในการสร้างรถยนต์รุ่นใหม่ ให้สามารถตอบสนองการขับขี่ได้มากขึ้น ด้วยการลดอัตราแบกน้ำหนักของเครื่องยนต์ (Power to weight ratio) ให้น้อยลง แต่ยังคงความมั่นใจในการขับขี่ รวมถึงความปลอดภัยในการปกป้องผู้โดยสาร

                เมื่อปีกลายมีรายงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำหนักรถยนต์ออกมาเปิดเผยเรื่องที่น่าตกใจ หลังจากมีการเปิดเผยค่าเฉลี่ยน้ำหนักรถยนต์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในภาพรวมของการผลิตรถยนต์ปัจจุบันล้วนมีน้ำหนักเบาลง โดยในปี 2012  รถยนต์มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียงคันละ  1,400 กิโลกรัม และยังมีแนวโน้มเบาลงอย่างต่อเนื่อง

              

              

ยิ่งในการเปิดเผยของผู้ผลิตเหล็กให้อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก เผยการศึกษาแนวทางการออกแบบรถยนต์ในอนาคต (FutureSteelVehicle design) พบว่า ค่ายรถยนต์หลายค่ายมีแนวโน้มพัฒนาให้รถยนต์เบาลงถึง ร้อยละ  35 ทั้งยังมีความพยายามเพิ่มความเบาให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ  39  ซึ่งจะส่งผลให้ภายในปี 2020 หรืออีกราวๆ  7 ปีข้างหน้า โครงสร้างแชสซีรถยนต์จากเหล็กจะมีน้ำหนักเพียง  176.8 ก.ก.ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักเทียบเท่าโครงสร้างอลูมิเนียมในรถยนต์ที่ผลิตในปัจจุบัน

ปัจจัยหนึ่งมาจากความก้าวหน้าในเหล็กความแข็งแรงสูงยุคใหม่ที่ให้ทั้งความเบาและทนทาน  แต่การเปลี่ยนแปลงเรื่องพิกัดน้ำหนักตัวไม่ใช่เรื่องใหม่ ด้วยในสนามแข่งน้ำหนักเบาเป็นสูตรสำเร็จในการเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ ให้การบังคับควบคุมง่ายมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นกว่ารถที่มีน้ำหนักมากกว่า แม้มันไม่ใช่เรื่องยากสำหรับนักขับมือพระกาฬ แต่ถ้าเรากำลังบอกว่า รถที่คุณขับมีน้ำหนักใกล้เคียง หรือบ้างเบากว่า  มันก็ไม่ต่างจากม้าพยศที่ดูเหมือนเชื่องๆดีๆ นั่นเอง  

Honda Civic HF

2012 Honda Civic HF

ตัวอย่างหนึ่งที่มีความชัดเจนมากในเรื่องสมรรถนะการขับขี่ที่มากขึ้นจากรถยนต์ที่มีพิกัดเบากว่า ก็อย่างเช่นรถยนต์  Honda Civic HF รุ่นประหยัดปรับทรวดทรง ที่พกเครื่องยนต์ 4  สูบแถวเรียง 1.8 ลิตร ทำกำลัง 140 แรงม้า ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศว่ามันมีสมรรถนะความประหยัดดีเกินคาด กว่า Ford Focus ที่มาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด  2.0 ลิตร และยังปราบ Kia Forte ที่มาพร้อมเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร   142  แรงม้าได้ ด้วยอัตราประหยัดที่ดีว่าถึง 2.5 ก.ม./ลิตรแม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่มากมาย แต่ด้วยพิกัดตัวที่เบากว่าถึง  300 ปอนด์โดยประมาณ ทั้งยังมีปัจจัยอื่นประกอบด้วย ทั้งชุดแต่งและยางลดแรงต้านทาน มาในราคาที่ไม่แพงก็ช่วยประหยัดเงินในประเป๋าได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ถึงเราหลายคนจะมองข้ามเรื่องน้ำหนักที่เบาหวิวของรถยนต์ภายใต้แนวคิดการวิศวกรรมยานยนต์ยุคใหม่ไป ราวกับเส้นผมบังภูเขา แต่ความก้าวหน้ายุคใหม่ที่เราอาจไม่เคยคิดสนใจ ก็อาจนำมาซึ่งผลข้างเคียงอย่างที่ไม่เคยคิดมาก่อน..และในตอนต่อไป เทคโนโลยีน้ำหนักเบาจะส่งผลถึงอะไรบ้าง..ต้องรอติดตามกัน  

 

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง

ข้อมูลการวิจัย  Steel Eliminates the Weight Gap with Aluminium for Car Bodies -

รายงานรถสมรรถนะดีขึ้นจากน้ำหนักน้อยลง http://editorial.autos.msn.com/10-lightweight-cars-redefining-performance

ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com

5 เรื่องน่าสนใจ