รถไฟไหม้จากอุบัติเหตุ เป็นไปได้อย่างไร แล้วจะทำอย่างไรเพื่อเอาตัวรอด

  • โดย : Autodeft
  • 22 มี.ค. 59 00:00
  • 14,602 อ่าน

เป็นเหตุชวนสลดที่ทำเอาคนไทยอึ้งอีกครั้งกับความรุนแรงของการใช้รถใช้ถนน ของคนในสังคมในบ้านเรา เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดของการชน Ford Fiesta ที่เกิดขึ้น นำมาสู่การสูญเสียครั้งใหญ่ต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และยังมาถึงกระแสสังคมมากมายที่ตามมาเพื่อหาให้เกิดความยุติธรรมทางสังคมต่อผู้กระทำความผิด ทว่าสิ่งที่ทำให้หลายคนกลัวในเหตุการณ์นี้นอกจากความรุนแรงในการชนแล้ว การที่รถไฟไหม้อย่างรวดเร็ว จนสร้างความ

 

“รถไฟไหม้” น้อยคน จะพบประสบการณ์ดังกล่าว แล้วรอดกลับมาเล่าให้ฟัง แต่แม้รถยนต์ทุกวันนี้จะถูกออกแบบและวิศวกรรมาให้ปลอดภัยมากเพียงใด ความเป็นไปได้ที่รถจะได้รับความเสียหายจนเกิดไฟลุกไหม้ได้นั้น ก็ยังมีอยู่ จะเป็นเพียงโอกาสน้อยนิดก็ตามที่

ตั้งแต่รถยนต์คันแรกถูกผลิตขึ้นมาบนโลกนี้ราวๆ 100  ปีที่แล้ว ผู้ประดิษฐ์และผู้ผลิตรถยนต์ ต่างก็นึกถึงสิ่งสำคัญทางด้านความปลอดภัยเบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรถยนต์ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน และน้ำมันเชื้อเพลิงเหล่านี้โดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน เป็นวัตถุไวไฟ และแรงเสียทานอาจจะก่อให้เกิดความร้อนและเป็นต้นเหตุของการติดไฟ จนลุกลามไปสู่ไฟไหม้ได้

จากข้อมูลของเว็บไซต์ที่ให้ข้อมุเกี่ยวกับเรื่องราวของรถไฟไหมในต่างประเทศ (อ้างอิง http://www.carcrashfires.com/history.html)  เปิดเผยว่า สาเหตุที่รถยนต์จะเกิดการไฟไหม้จากการชนกันนั้นยังมีอยู่ และประกอบด้วย  2 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.ความเสียหายระบบและชิ้นส่วนเกี่ยวกับเชื้อเพลิง และ  2.ประกายไฟ

[IMAGE1]

1.ความเสียหายระบบและชิ้นส่วนเกี่ยวกับเชื้อเพลิง

เมื่อรถเกิดการชนแล้วรถยนต์จะได้รับความเสียหาย ไม่ว่าคุณจะโดนชนทางด้านหน้า หรือชนทางด้านหลัง สิ่งสำคัญคือรถยนต์มีระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและมีโอกาสที่มันจะได้รับความเสียหาย

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้พัฒนาการของระบบเชื้อเพลิงรุดหน้าเพื่อตอบทั้งสมรรถนะและความประหยัดในการขับขี่ การวิศวกรรมสมัยนี้ทางผู้ผลิตได้คิดมาแล้วเป็นอย่างดี แต่ก็ยังอาจะไม่สามารถป้องกันพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ใช้ได้หากเสียหายอย่างหนักจากการชนหรือถูกชนอย่างรุนแรง

 

ถังน้ำมัน – หัวใจสำคัญของรถยนต์ในการเป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อนรถยนต์ให้เดินทางได้ จากรายงานทางด้านเทคนิคของ  EPA   ในหัวข้อ “ Analysis of Motor Vehicle Fuel Tank  Relate Fired”  (อ้างอิง http://nepis.epa.gov/)ที่ทำออกมาตั้งแต่ปี   1988    ระบุว่า  ถังน้ำมันเป็นต้นเหตุสำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดไฟไหม้ในรถยนต์  โดยจากข้อมูลในยุคมีรายงานว่าโอกาสที่รถจะเกิดไฟไหม้จากการได้รับความเสียหายของถังน้ำมันจากการชนนั้นมีสูงตั้งแต่ 1,870 -  10,700 ครั้ง และจากรายงานอุบัติเหตุดังกล่าว มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากถึง 839   คนและ บาดเจ็บสาหัสถึง 1,140   คนเลยทีเดียว

แม้เทคโนโลยียานยนต์จะเปลี่ยนไปมากเพียงใด แต่การออกแบบและวิศวกรรมถังน้ำมันในรถยนต์มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก มีเพียงการพยายามลดแรงเสียดทานที่อาจจะเกิดขึ้นจากการชนอย่างรุนแรง โดยเปลี่ยนวัสดุจากเหล็กที่ใช้ในอดีตมาเป็นถังนั้นแบบพลาสติกที่ทำมาจากโพลีเอทีลีน รวมถึงยังมีการปรับปรุงการวิศวกรรมหลายๆ ส่วนสำคัญ เช่น ตำแหน่งติดตั้งถังน้ำมัน ,ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันแรงกระแทก หรือฉนวนกันความร้อนสำหรับถังน้ำมัน ไปจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักของรถเพื่อปกป้องถังน้ำมันมากขึ้น

ไม่ว่าอย่างไรก็ตามหากรถได้รับแรงกระแทกจากการชนอย่างรุนแรง ก็มียังมีโอกาสที่ถังน้ำมันจะแตก และถ้าได้รับความร้อนหรือแรงเสียดสีจากการชน ก็ยังมีโอกาสจะติดไฟได้

ระบบส่งจ่ายน้ำมัน- เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันทำให้รถยนต์มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนระบบคาร์บูเรเตอร์แบบเดิม ซึ่งอาศัยการผสมน้ำมันกับอากาศแล้วดูดเข้าห้องเผาไหม้พร้อมกัน

ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีดจำเป็นต้องมีแรงดันน้ำมันสูง ซึ่งในถังน้ำมันจะมีปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ ปั้มติ๊ก (Fuel Pump)  เพื่อสร้างแรงดันไปยังหัวฉีด และในกรณีที่เกิดการชนออางรุนแรง โดยเฉพาะทางด้านหน้า อาจจะมีความเป็นไปได้ที่ท่อน้ำมันจะฉีกขาดจากการกระแทกระหว่างการชน และหากปั้มเชื้อเพลิงในถังยังทำงานแรงดันของปั้มจะทำให้น้ำมันกระจายไปทั่วที่เกิดเหตุ

ดังนั้นหากสรุปว่าระบบน้ำมันเป็นต้นเหตุของการเกิดไฟไหม้ได้อย่างไร เราสามารถสรุปได้ว่า

1.ถังน้ำมันฉีกขาดจากการชนกระแทก จนน้ำมันรั่ว

2.ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบจ่ายน้ำมันได้รับความเสียหายระหว่างการชน โดยเฉพาะท่อยางทางเดินน้ำมัน และน้ำมันรั่วออกได้ เพราะปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงในถังน้ำมันยังทำงาน

 

ส่วนในกรณีรถที่ติดตั้งระบบแก๊สก็อาจจะเป็นไปได้ที่ถังแก๊สจะได้รับความเสียหายจากการชนได้เช่นกัน แต่ในการติดตั้งระบบแก๊สทุกประเภทจะมีวาล์วตัดการจ่ายแก๊ส ไปยังเครื่องยนต์ หากกรณีถังแก๊สฉีกหรือได้รับความเสียหายอย่างหนักแก๊สจะรั่วออกแล้วกระจายตัวออกอย่างรวดเร็ว แต่เป็นกรณีที่หาได้น้อยมากเว้นแต่จะถูกชนโดยตรงและได้รับความเสียอย่างหนัก

 

 

2.ประกายไฟ อย่างที่เราทราบกันดีว่า น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นวัตถุไวไฟมันสามารถติดไฟได้ง่าย แต่ไฟไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ ถึงความร้อนจะมีส่วนทำให้ไฟติดได้ ทว่าน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างน้ำมันเบนซินก็ต้องการค่าความร้อนสูงมากถึง  247-280   องศาเซลเซียส ส่วนน้ำมันดีเซลต้องมีความร้อนถึง  210   องศาเซลเซียส จึงจะติดไฟและลุกไหม้เองได้ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน แต่หาได้น้อยมาก

ประกายไฟจึงเป็นอีกจำเลยสำคัญของต้นเหตุไฟไหม้รถยนต์ส่วนใหญ่ ซึ่งโดยมากจะมาจากการทำงานของระบบไฟฟ้าในรถยนต์ ซึ่งอาจะยังทำงานอยู่แต่ระบบได้รับความเสียหายจากการชน หรืออาจจะมีประกายไฟจากแหล่งอื่นก็เป็นไปได้

 

เมื่อไฟเจอน้ำมันสิ่งที่ตามมาคือรถยนต์เกิดเพลิงไฟไหม้ และเมื่อเรารู้แล้วว่า รถยนต์เกิดไฟไหม้ได้อย่างไร วันนี้เราจะพาคุณๆไปรู้จักการเอาตัวรอดจากเหตุรถไฟไหม้กันด้วย

 

1.ต้องมีสติ สติสำคัญต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินเสมอ เมื่อรถคุณเกิดการชนและได้รับความเสียหายอย่างหนัก Carcrashfire.com  ระบุว่า  โอกาสที่ผู้ได้รับอุบัติเหตุเสียชีวิตจากการถูกไฟคลอกตายนั้นเป็นเพียงปลายเหตุเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่จะได้รับอันตรายถึงชีวิตจากแรงชนกระแทกของอุบัติเหตุมากกว่า โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบเหตุอาจจะหมดสติจากแรงกระแทก หรืออาจจะเสียชีวิตคาที่จากแรงชน แต่ถ้าคุณรู้สึกตัวทันท่วงทีและพระเจ้าประทานพรให้คุณมีชีวิตอยู่ จงมีสติในการดำเนินตามขั้นตอนปลอดภัย

2.บิดปิดสวิทช์กุญแจ หากมีโอกาสและคิดว่ามีเวลามากพอให้คุณดับสวิทช์กุญแจของรถคันที่คุณขับหรือโดยสาร (รวมถึงกรณีถ้าคุณเป็นพลเมืองดีพบผู้ประสบเหตุด้วย) เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ จนอาจจะนำไปสู่การเกิดเพลิงไหม้ และรวมถึงมันยังหยุดการทำงานของชิ้นส่วนระบบเชื้อเพลิงที่สำคัญอย่างปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง และลดการแพร่กระจายของน้ำมันเชื้อเพลิงในจุดเกิดเหตุด้วย แต่หากคุณได้กลิ่นควันไฟ หรือรู้สึกถึงความร้อน ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปทันที เพราะไฟอาจจะเริ่มลุกไหม้ไปแล้ว

3.ออกจากรถทันที ในกรณีที่คุณทำอะไรไม่ได้ และไม่มีอะไรที่คุณทำได้ในเวลานั้น สิ่งเดียวที่คุณทำได้คือออกจากตัวรถทันที จงจำไว้ว่า  ทุกอย่างไม่มีอะไรสำคัญกว่าชีวิตของคุณเอง กรณีที่คุณมากับเพื่อน ญาติ หรือใครคนสำคัญ ให้พาตัวคุณเองออกมาก่อน ถ้ามีพลเมืองดีหรือเจ้าหน้าที่กู้ภัยของแรงช่วยเหลือ จะดีกว่า หากไม่มีให้คุณสอบถามเพื่อนถึงอาการบาดเจ็บ และจุดที่เขาติดอยู่ก่อน จึงเริ่มการช่วยเหลือ

4.ออกห่างจากรถให้มากที่สุด เมื่อคุณช่วยชีวิตได้แล้ว อย่าไปสนใจทรัพย์สินภายในรถ เอาตัวคุณเองออกห่างจากรถทันที ไม่ว่าอะไรที่คุณลืมมันไม่สำคัญแล้ว เพราะคุณได้ทำสิ่งที่สำคัญไปแล้ว คือช่วยชีวิตตัวเองและเพื่อนที่เดินทางมาด้วย นั่นเพียงพอแล้ว ที่เหลือ ให้รอเจ้าหน้าที่เข้ามาจัดการ ส่วนทรัพย์สินนั้นคุณสามาถรถร้องขอจากประกันรถคุณได้ เพราะเป็นความเสียหายโดยตรงจากเหตุ  

 

การเกิดไฟไหม้กับรถยนต์ ยังเป็นไปได้เสมอ เราไม่มีทางรู้หรอกว่า เราอาจจะเป็นผู้ประสบเหตุในวันใดของชีวิต อย่างน้อยที่สุดวันนี้คุณก็ได้เรียนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรในเหตุการฉุกเฉิน ที่อาจจะเกิดขึ้น ตราบใดที่รถยนต์ยังต้องอาศัยน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน

 

เรื่องโดยทีมงาน  Autodeft

 

 

ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com

5 เรื่องน่าสนใจ