Moose Test คืออะไร รู้จักหน่อยไหม ... การทดสอบหักหลบสุดขั้ว

  • โดย : Autodeft
  • 27 ต.ค. 59
  • 11,516 อ่าน

ตั้งแต่ปล่อยบทความเกี่ยวกับการทดสอบสมรรถนะในการขับขี่ทางด้านการควบคุมแบบ Moose Test ออกไป ยอมรับว่าได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้อ่านทั้งหลาย และได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา ซึ่งเราอาจจะไม่เคยเห็นการทดสอบแบบนี้มาก่อน แต่มันคือที่สุดของการทดสอบการขับขี่

 

  Moose Test นั้น เป็นการทดสอบที่เกิดขึ้นในแถบแสกนดิเนเวีย เป็นมาตรฐานที่กำหนดตามสถาบันความปลอดภัยทางถนน ในแถวสวีเดน, ฟินแลนด์ และ เนเธอร์แลนด์ เพื่อทดสอบการทรงตัวและการควบคุมตัวรถ ว่าสามารถจะรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้มากน้อยเพียงใด

[IMAGE1]

การทดสอบนี้ จะคล้ายกับ การเปลี่ยนเลนกะทันหัน หรือ Lane Change แต่ไม่เพียงหักเปลี่ยนเลนไปเพียงอย่างเดียว แต่จะมีการเปลี่ยนกลับ เพื่อจำลองสถานการณ์ที่สัตว์ป่าเช่นกวางมูส อาจข้ามถนนตัดหน้ารถ ซึงในสถานการณ์จริง ผู้ขับขี่จะตัดสินใจหักหลบอย่างรวดเร็วจากการอาการตกใจ และในเวลาเดียวกันยังมีรถกำลังสวนมาอย่างรวดเร็ว

การทดสอบนี้ มีขึ้นมาตั้งแต่ยุคปี 1970 ในสวีเดน และทำมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นกฎหมายทางด้านความปลอดภัยทางถนนใช้ในประเทศแถวนั้นมาเรื่อยเพื่อสอดรับกับสภาพการณ์จริงที่มักจะเกิดขึ้นในระหว่างการขับขี่

วิธีทดสอบ จะใช้การวางกรวยล้อมกรอบ เป็นเส้นทาง หรือเพื่อให้ต้องเลี้ยวรถไปยังทิศทางที่ต้องการ และใช้ความเร็วที่เหมาะสมในการขับขี่บนถนนผิวแห้ง โดยมากจะใช้ความเร็ว 60 ก.ม/ช.ม. และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่ารถจะควบคุมไม่ได้ และเริ่มชนกรวยในระหว่างการทดสอบ ซึ่งมักจะเป็นช่วงความเร็ว 70-80 ก.ม./ช.ม.

[IMAGE3]

ภายในรถประกอบด้วย ผู้โดยสาร 1 คน และคนขับ 1 คน คาดเข็มขัดเรียบร้อย รวมถึงยังมีการถ่วงน้ำหนักด้านท้ายเพื่อจำลองสัมภาระของผู้โดยสาร อีก 100 กิโลกรัม

ตามหนังสือ Encyclopedia Automotive Engineering ระบุรูปแบบในการทดสอบว่า จะทำการวางกรวยแบ่งออกเป็น 2 เลนในลักษณะรูป S Curve โดยแต่ละช่องทางเดินรถกว้าง 3 เมตร โดยช่วงเปลี่ยนช่องทางนำไปยังสถานีจะยาว 6 เมตร (ไม่ใช่จุดออกตัว) และ ช่วงจุดเปลี่ยนช่องทางจำลอง การพบเห็นกวางมีความยาว 13.5  เมตร และเมื่อเปลี่ยนช่องทางไปแล้ว จะเดินรถผ่านช่องทางความกว้าง 3 เลน เป็นระยะทาง 11 เมตร ก่อนเปลี่ยนช่องทางกลับไปยังช่องทางเดินรถเดิม โดยปัจจุบัน คล้ายกับการทดสอบตามมาตรฐาน ISO3888 ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานในการทดสอบการหักหลบรถยนต์ 

[IMAGE2]

การทดสอบดังกล่าวเริ่มได้รับความสนใจอย่างมากตั้งแต่ปี 1997 เมื่อผู้สื่อข่าวจากนิตยสารรถยนต์ Teknikens Värld  ของสวีเดน โรเบิร์ต คอลลิน ทำรถ Mercedes Benz A Class พลิกคว่ำ โดยภายหลังมีการระบุว่ามาจากปัญหาทางสภาพรถที่ไม่สู้ดี โดยภายหลังยังมีรถยนต์อีกหลายรุ่น เช่น Dacia Logan, Posche Macan รวมถึง Jeep Grand Cherokee ที่ไม่ผ่านการทดสอบ และการทดสอบดังกล่าวทำมาเรื่อยและมีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 

บางค่ายรถยนต์เลือกที่จะนิ่งเฉยต่อการทดสอบนี้ ด้วยมองว่าเป็นการทดสอบที่ไม่ได้มาตรฐาน และบ้างออกมาอธิบายอย่างชัดเจน เช่น Porsche ออกมาอธิบายต่อการแสดงอาการแปลกๆของ Porsche Macan ในระหว่างการทดสอบว่า น่าจะเป็นผลมาจาก Active Rollover Protection system ซึ่งเข้ามารับหน้าที่ในการทำงาน เมื่อพบว่ารถกำลังจะพลิกคว่ำระบบ จะทำการเบรกหน้าเต็มแรงเพื่อป้องกันเหตุ

การทดสอบ Moose Test ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ไม่ใช่การทดสอบที่หลายคนใส่ใจเนื่องจากเป็นสภาวะเฉพาะ ของบางพื้นที่ โดยในก่อนหน้านี้มีรายงานว่า บริษัทรถยนต์ Volvo และ Saab ให้ความสำคัญกับเรื่องการทดสอบดังกล่าวในการพัฒนารถของบริษัท โดยปัจจุบันกวางมูส มักจะอยู่แถบทางเหลือของโลก พบมากใน สวีเดน, นอร์เวย์, ฟินแลนด์, รัสเซีย, แคนาดา และ อลาสก้า จึงอาจจะไม่ใช่เรื่องที่บริษัทรถยนต์รายอื่นๆ สนใจนัก

[IMAGE5] 

ทั้งนี้เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานว่าทางหน่วยงานความปลอดภัยของสวีเดนได้ ปรับการทดสอบ Moose Test ใหม่ โดยพวกเขาประดิษฐ์ดัมมี่ กวางขึ้นมา เพื่อให้สมจริงในการทดสอบมากขึ้น เช่นเดียวกับ ออสเตรเลีย ที่มีการประดิษฐ์ดัมมี่จิงโจ้เอาไว้เพื่อใช้ทดสอบทางด้านความปลอดภัย

ปัจจุบัน  Teknikens Värld  ยังคงรูปแบบการทดสอบ Moose Test ต่อไป และเป็นสื่อรายเดียวที่ยังนำเสนอข้อมูลทางด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปี มีรถที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานนี้มากมาย และหลายคันทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จักก็ผ่านมันไปได้ด้วยดี

ความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญในการขับขี่ มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาวะการขับขี่ของกลุ่มลูกค้า ว่าพวกเขาจะไว้วางใจในรถยนต์คู่ใจของพวกเขาได้มากเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ผู้ขับขี่ย่อมหวังจะพึ่งพิงสมรรถนะรถของพวกเขา ว่าจะทำให้พวกเขาไม่ต้องนอนหยอดข้าวต้มที่โรงพยาบาล

 

ข้อมูลบางส่วนจาก  Moose Test Wikipedia , Encyclopedia  automotive engineering  และ Teknikens Värld

ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com 

5 เรื่องน่าสนใจ