รถมีกลิ่นแก๊ส LPG ในห้องโดยสาร อันตรายไหม?

  • โดย : รัฐศิลป์ รัตนกู้เกียรติ
  • 15 เม.ย. 64
  • 15,017 อ่าน

ในปัจจุบันความนิยมในการใช้งานแก๊ส LPG กับรถยนต์อาจไม่ได้สูงเท่ากับเมื่อครั้งที่น้ำมันมีราคาสูงในอดีตที่ผ่านมา แต่มีไม่น้อยกับผู้ใช้รถที่ยังมีการใช้งานแก๊ส LPG กับรถยนต์คันโปรดอยู่ และหลาย ๆ คนอาจเคยพบเจอกลิ่นแก๊ส LPG ที่เข้ามาในห้องโดยสาร และใครที่ยังไม่เคยเจอวันนี้จะไปดูกันว่าเมื่อพบกลิ่นแก๊ส LPG ในห้องโดยสารแล้วนั้นอันตรายหรือไม่

แก๊ส LPG

โดยปกติหากรถยนต์ของคุณใช้งานแก๊ส LPG อยู่ เราควรเข้าตรวจเช็คระบบแก๊สทุก ๆ 6 เดือน หรือทุก ๆ 10,000 กิโลเมตรเป็นประจำ เพราะหากเมื่อคุณใช้งานขับขี่รถติดแก๊ส แล้วพบว่ามีกลิ่นเข้ามาในห้องโดยสารให้สันนิษฐานได้เลยว่าระบบแก๊สมีจุดรั่วซึมเกิดขึ้น เพราะโดยปกติการใช้งานระบบแก๊สที่สมบูรณ์ผู้ขับขี่แลัผู้โดยสารภายในห้องโดยสารจะต้องไม่ได้กลิ่นแก๊สลอยเข้ามา

แก๊ส LPG

ซึ่งเมื่อพบกลิ่นแก๊ส LPG ในห้องโดยสาร  สิ่งที่ควรทำเลยก็คือรีบนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์ให้บริการเฉพาะทางเกี่ยวกับแก๊สน่าจะดีที่สุดก็ว่าได้ เพราะด้วยความชำนาญเกี่ยวกับระบบ และรู้ว่าควรจะต้องตรวจเช็คตรงจุดใดบ้างของระบบ การที่คุณได้กลิ่นแก๊สในรถนั้นอันตรายมากทีเดียว เพราะหากมีประกายไฟเกิดขึ้น ด้วยคุณสมบัติความไวการติดไฟที่ง่ายของแก๊สจึงอันตรายมากทีเดียว

โดยในการตรวจเช็ครั่วง่าย ๆ ของระบบแก๊สก็คือการใช้ฟองสบู่ในการฉีดที่บริเวณจุดต่อเชื่อม ข้อต่อต่าง ๆ ในระบบแก๊สอย่างระมัดระวังเพื่อเช็คดูรอยรั่ว ไม่ว่าจะเป็นบริเวณ หัวฉีด หม้อต้มแก๊ส ท่อต่าง ๆ ถังแก๊สท้ายรถ เป็นต้น

แก๊ส LPG

และอย่าลืมที่จะสังเกตว่าคุณได้กลิ่นแก๊ส LPG ในห้องโดยสารเมื่อใด ยกตัวอย่างเช่น คุณมักจะได้กลิ่นแก๊ส LPG เข้ามาในห้องโดยสารแบบชัด ๆ เฉพาะช่วงที่มีการเติมแก๊ส LPG ใหม่ ๆ และเมื่อใช้งานไปได้สักระยะกลิ่นแก๊ส LPG จะค่อย ๆ จางไป ในกรณีนี้อาจสันนิษฐานได้ว่ามีการรั่วที่บริเวณถังแก๊ส หรือจุดเติมแก๊สด้านท้ายรถ ซึ่งส่วนของถังแก๊สจะมีข้อต่อต่าง ๆ อยู่ ซึ่งเกิดอาการรั่วได้ตามอายุการใช้งานแม้ไม่ได้โดนกระแทกก็ตาม

สำหรับก๊าซ LPG หรือที่เรียกแบบเต็มว่า Liquefied Petroleum Gas เราเรียกกันแบบคุ้นหูว่าก๊าซหุงต้ม มีลักษณะเป็นของเหลว ระเหยได้ง่าย เป็นผลผลิตที่ได้จากการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่น ออกมาในหอกลั่นเดียวกับน้ำมันดีเซล, น้ำมันเบนซิน เป็นต้น มีส่วนผสมหลักเป็นโพรเทน 70% และบิวเทน 30% ไร้สีไร้กลิ่น แต่ที่เราได้กลิ่นฉุนนั้น เนื่องจากมีการใส่กลิ่นฉุนลงไปเพื่อความปลอดภัย เพราะก๊าซ LPG นั้น มีคุณสมบัติน้ำหนักหนักกว่าอากาศ จึงทำให้ตัวก๊าซนั้นลอยตัวต่ำ ถ้ามีการรั่วไหลออกจากถังบรรจุ จะทำให้มีโอกาสเกิดการติดไฟได้ง่าย หรืออาจเกิดอันตรายจากการสูดดมโดยไม่รู้ตัว

LPG มีอุณหภูมิติดไฟอยู่ที่ราว 481 องศาเซลเซียส ให้ค่าความร้อนที่ 26,595 BTU/ลิตร แรงดันอยู่ที่ 100-130 PSI หรือประมาณ 4-6 บาร์ จึงสามารถใช้ถังเหล็กขึ้นรูปไม่มีตะเข็บ ความหนาขนาด 2.5 มม. ในการบรรจุได้ โดยจะจัดเก็บในรูปแบบของเหลว มีจุดเดือดที่ -50 องศาเซลเซียส (น้อยกว่านี้เป็นของเหลว สูงกว่านี้เป็นก๊าซ)

โดยก๊าซ LPG เป็นก๊าซที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ มีน้ำหนักมากกว่าอากาศจึงลอยต่ำเมื่อมีการรั่วไหล จึงต้องมีการใส่กลิ่นฉุนลงไปเพื่อให้เรารู้ตัวเมื่อรั่วไหล มีแรงดันต่ำ

ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com

5 เรื่องน่าสนใจ