Deft Opinion : จับจริงจอมแชท ..กฏหมายที่มีมาตรฐานหรือแค่การตีความของพี่ตำรวจ
- โดย : Autodeft
- 11 ส.ค. 57 00:00
- 7,035 อ่าน
ประเด็นสังคมที่กำลังพูดถึงอย่างมาก จับจริงจอมแชท โครงการดีที่ยังไม่ชัดเจน นี่ความเห้นทีมงาน autodeft.com ต่อโครงการนี้
เรื่องโดย ดินน้ำมัน
ออกกฎมากมายไม่เว้นแต่ละเดือนกันจริงๆ ในช่วงนี้ ยิ่งสังเกตยุคที่ท่านอาบิ๊กตู่เข้ามาร่วมด้วยช่วยสังคายนาปัญหาบ้านเมืองไทยที่ร้างลากันมานาน ยอมรับเถอะว่า ตำรวจเริ่มกลับมาขยันทำงานกันมากขึ้น ทั้งจับอาวุธ จับยาเสพติด แต่ที่กระทบคนใช้รถใช้ถนน สารพัดกฏที่ออกมา จับจริงบ้าง 5 จอม และล่าสุดเลยที่กำลังตกเป็นคำถามสังคมว่า ตกลงอะไรเป็นมาตรฐาน คงอยู่ที่ กรณี “จับจริงจอมแชท”
นโยบายจับจริงจอมแชทนี้ เป็นเรื่องที่ทางเล็งเห็นล่าสุดว่ามันมีผลกระทบต่อสังคมถนน ทั้งการแชทในขณะขับขี่ถือว่าส่งผลร้านอันตรายอย่างมาก มีการยืนยันที่สำคัญมากมายทั้งจากเหตุการณ์จริงและจากงานวิจัยในต่างประเทศ ระบุว่าผู้คนส่วนใหญ่คิดเห็นตรงกันว่า การรับส่งข้อความขณะขับขี่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก และอาจจะสูงที่สุดในการทำให้สมาธิในการขับขี่ลดน้อยลงกว่าปกติ
นอกจานี้ในงานวิจัยจาก American Automotive Association ระบุโดยอ้างภายใต้งานวิจัยของพวกเขาว่าวัยรุ่นกว่า 40% ยอมรับว่า พวกเขาตกใจกับเสียงเตือนข้อความที่เข้ามา และต้องการที่จะหยิบจับโทรศัพท์ไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่งในทันที
แต่การวิจัยที่ชี้ว่าการส่งหรือรับข้อความขณะขับขี่มีความอันตราย ต้องยกให้นิตยสาร car&Driver ที่นำการขับรถที่ไร้สติระหว่างคนเมาแล้วขับ กับคนแชทแล้วขับมาเปรียบเทียบกัน โดยคนแล้วขับ จะเบรกจากความเร็ว 70 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 179 ก.ม./ช.ม. มากกว่าคนที่ขับรถโดยปกติเพียง 4 ฟุต เท่านั้น แต่กลับกันคนใช้มือถือถ้าคุณอ่านอีเมล์เข้าใน ระยะจากความเร็วเดียวกันจะเพิ่มเป็น 36 ฟุต และถ้าตอบโต้ข้อความด้วยจะเพิ่มเป็น 70 ฟุตในทันที
แน่นอนมันมีอันตรายแฝงในการใช้มือถือในการขับแล้วแชท ซึ่งต้องยอมรับว่าคนไทยหลายคนไม่ตระหนักในเรื่องนี้มากนัก เราหลายคนกลายเป็นคนติดโซเชี่ยลไปโดยปริยาย รายงานทุกอย่างในชีวิตออกสู่พื้นที่สื่อโดยหวังว่าจะมีเพื่อนสนใจ ไม่เว้นกันทั่งรถติด หรือ จิ้มแชทแก้เหงา ยิ่งบ้านเราเอาแค่โปรแกรมสุดฮิต Line มีผู้ใช้งานกว่า 24 ล้านคน ไม่น่าแปลกใจเลยที่คนติดโซเชี่ยล กดไปด้วยขับไปด้วยจะเป็นอันตรายแฝงบนถนนเมืองไทย ไม่นับเรื่องความเผอเรอที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อสายตาไม่ได้อยู่ที่ถนน
แง่หนึ่งของการออกฎหมายคงต้องยอมรับในเรื่องการ “จับจริงจอมแชท” เป็นความคิดที่ดี และควรทำมานานแล้ว แต่นโยบายที่ดีกำลังถูกวิจารณ์อย่างหนึ่งในด้านความไม่ชัดเจนต่อตัวบทการกระทำหรือดำเนินการต่อผู้กระทำความผิด ด้วยตำรวจอ้างมาตร 43 ของพรบ. จราจรทางบก (9) ทีระบุว่า
“ห้ามผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์ขณะรถเคลื่อนที่ เว้นแต่อุปกรณ์เสริมช่วยการสนทนา โดยต้องไม่จับหรือถือโทรศัพท์ โดยกฎนี้บังคับใช้กับผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภทตามความหมายที่ พ.ร.บ. จราจรทางบก ระบุไว้ ยกเว้นรถไฟและรถราง”
ซึ่งต้องยอมรับว่ากฎนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมาตรฐานห้ามขับแล้วโทรมีมานานแล้ว และเราพูดเรื่องการใช้สมอลทอล์คกันตั้งแต่ปีมะโว้ เพียง แค่โทรศัพท์ทุกวันนี้มีความทันสมัยมากขึ้น จากการใช้เสียงด้วยการโทร คนจำนวนมากเปลี่ยนมาแชทมากขึ้น การนำกฎนี้บังคับในมุมองของตำรวจถือว่ามันชัดเจน และครอบคลุมต่อการระบุว่า คนขับที่แชทไปด้วยมีความผิดตามประมวลกฎหมายดังกล่าว
ถ้าเราใช้มือถือขณะรถติดในการตอบโต้ มันมีความสามารถเทียบเท่าการอ่านหนังสือมันจะผิดไหม
แม้ว่าตามแนวคิดของคนในวงการสีกากีที่ออกมาตีฆ้องร้องป่าวยึดเอามาตรา 43 ออกมาจับจริงจอมแชท จะใช้ได้ผลในแง่หนึ่ง แต่ในตอนที่กฎหมายฉบับนี้ออกมา โทรศัพท์มือถือไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปย่างทุกวันนี้ ที่คนส่วนใหญ่หันมาใช้โทรศัพท์ smart Phone มากขึ้น ซึ่งการปฏิสัมพันธ์กับโทรศัพท์นั้น ต้องใช้วิธีการสื่อสารผ่านปลายนิ้วเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะการกดเพื่อโทรออกก็ดี หรือดูข้อมูลธรรมดาต่างจำเป็นทั้งนั้น
นอกจากนี้ โทรศัพท์ในปัจจุบันมีความสามารถมากขึ้น ซึ่งหลายคนคงทราบกัน ดี มันไม่ได้มีความสามารถแค่เป็นโทรศัพท์อีกต่อไป แต่ยังเป็นทั้ง สมุดนัดหมายของใครหลายคน กล่องจดหมายที่เชื่อมต่อจากโลกอินเตอร์เน็ต หรือสำหรับคนที่มักหลงทางมันยังเป็นระบบนำทางไปด้วยพร้อมกัน ซึ่งหลายอย่างที่เป็นความสามารถช่วยให้ชีวิตหลายคนสะดวกมากขึ้น
รวมถึงระบบโทรศัพท์ต่างๆ นั้นยังสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องเสียงภายในรถเพิ่มความสามารถในการใช้งานมากขึ้นไปอีก ซึ่งทำให้ กฎจับจริงจองแชท เริ่มวุ่นวายมากขึ้น เมื่อตำรวจเหมาะเอาจากกฎม. 43 และ ถือกล้องส่องเลนเทเล 300 มม. ทำตัวเป็นนักซุ่ม เมือเห็นผู้กระทำความผิดก็ถ่ายแล้วส่งหลักฐานจดหมายปิดซองถึงบ้านหรือเคาะกระจก
โดยใช้ข้ออ้างว่าห้ามใช้มือถือในทุกเวลาที่ขับรถ แม้ในยามที่การจราจรในไทยสาหัสติดขัดแบบชนิดไม่ขยับไปไหนเป็นชั่วโมงๆ มือถือเป็นส่วนหนึ่งของการคลายเครียดจากปัญหาการจราจรที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารการจราจรอย่างไม่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ได้ อย่างดี ลดแรงกดดันที่ออกมายังพฤติกรรมการขับขี่ได้ในระดับหนึ่ง
รวมถึงสำหรับหลายคนยังใช้มือถือในการติดต่อสื่อสารที่มีความจำเป็นมากในสมัยนี้ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ ส่วนตนหรือการทำงาน แถมบางคนยังมีกระจิตกระใจจิตอาสาบอกทางเพื่อนร่วมทางร่วมรายงานข่าวจราจร กับวิทยุชื่อดังก็ตกเป็นจำเลยของโครงการจับจริงจอมแชทก็มีมาแล้วให้เห็น
ภาพสมมุติรายงานจราจรบนโซเชียลจะโดนหรือไม่
ยิ่งกว่านั้นท่าน พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการดูแลงานจราจร กทม.กล่าวอย่างภูมิใจในการสัมภาษณ์หลายครั้ง โดยเฉพาะการจับผู้ขณะขับขี่ตามโครงการ จับจริงจอมแชทที่ใช้มือถือในขณะขับรถ โดยส่วนใหญ่ที่จับได้เป็นผู้กระทำความผิดขณะจอดติดไฟแดง ซึ่งท่านอดุลย์ก็เผยอย่างมั่นใจว่า การใช้มือถือขณะรถติดถือว่าผิดตามมาตรา 43 อย่างชัดเจน แต่ขณะเดียวกัน ก็เคยเปิดเผยว่า ถ้าจอดดับเครื่องแล้วใช้มือถือ ถือว่า ไม่ผิดตามกฎหมาย ....ยังเอามาซึ่งความสงสัยต่อมาตรฐานของการจับกุมตามโครงการนี้
ความไม่มีมาตรฐานอย่างชัดเจน นอกจากการยึดเอามาตร 43 แล้วบอกผู้ใต้บังคับบัญชาให้เดินหน้าจับกุมนั้นผู้กระทำความผิด “จับจริงจอมแชท” สร้างความฉงนในสังคมอย่างมาก แม้จะมีการพยายามออกมาตอบคำถามกันยกใหญ่ว่าแบบไหนโดน แบบไหนไม่โดน ผ่านหลายสื่อ แต่ก็ชัดเจนว่า กฎหมายนั้นไม่ชัดเจน สร้างความงงสงสัยต้องผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างมาก และยังคลุมเครือ
จนมีบางคนตั้งข้อสงสัยว่า โครงการนี้อาจจะเกิดขึ้นมาเผื่อไม่ให้ ประชาชนจับผิดตำรวจ ที่ทำผิดกฎจราจรหรือไม่ ยิ่งช่วงหลังตำรวจเป็นจำเลยสังคมในเรื่องการไม่ปฏิบัติตามกฎมากขึ้น และเห็นบ่อยครั้ง โดยอ้างการปฏิบัติหน้าที่เป็นสำคัญ ทั้งที่อาจจะไม่ใช่เวลาปฏิบัติหน้าที่ก็ตามที
รวมถึงล่าสุดมีการเตรียมปรับจับ โครงการ “จับจริงจอมแชท” ด้วยกล้องวงจรปิด ซึ่งนำมาถึงคำถามที่สำคัญว่า การทำเช่นนี้เป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวหรือไม่ และท้ายที่สุด การที่พุดอย่างยืดอก ว่าจะยิงจับปรับทะลุกระจก คือสิ่งที่เหมาะสมแล้วหรือ
อย่างไรก็ดี เราไม่ได้บอกว่า การขับไปแชทไป จะเป็นเรื่องดี ในแง่หนึ่งต้องยอมรับว่าไม่ว่าเราจะใช้โทรศัพท์มือถือในรูปแบบใดในระหว่างการขับขี่ล้วนมีอันตรายจริงๆ ซึ่งการเลี่ยงไม่ใช้ได้จะดีที่สุด ไม่ใช่เพราะว่าคุณเป็นคนดีทำตามกฎ แต่เลี่ยงในการเสียงต่ออุบัติเหตุได้อย่างดีที่สุด
หากแต่สิ่งที่เราพยายามชี้คือ มาตร 43 ยังไม่เพียงพอ ต่อการดำเนินโครงการ ในหลายประเทศ ที่มีการปราบปรามอย่างจริงจังมีการออกกฎเฉพาะ และทำให้ผู้ขับขี่มีความเข้าใจอย่างทั่วถึงก่อนบังคับใช้กฎห้ามใช้มือถือ ซึ่งเรื่องยังไปถึงว่า อาจจะถึงเวลาที่หลายเรื่องของกฎจราจรไทยสุดคร่ำครึ อาจจะต้อง สังคายนา..... หรือไม เพื่อให้กฎจราจรทันสมัยมากขึ้น ไ
เรื่องโดย ดินน้ำมัน
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com