เปิดรายชื่อรถยนต์ที่ผลิตในไทยส่งออกไปที่ออสเตรเลีย…ตอกย้ำความเชื่อมั่น ตอกย้ำคุณภาพ

  • โดย : Autodeft
  • 21 ม.ค. 63
  • 19,507 อ่าน

นับตั้งแต่อุตสาหกรรมรถยนต์ในเมืองไทย เปิดรับค่ายรถยนต์ชั้นนำจากหลายประเทศไมว่าจะเป็น ญี่ปุ่น ยุโรป เกาหลี จีน ฯลฯ ตั้งโรงานประกอบรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปกว่า 100 ประเทศ รองรับการขยายตัวเพื่อเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นจนได้รับการยอมรับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสำคัญในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย โดยผลิตรถยนต์คุณภาพส่งถึงมือลูกค้าไปยังทั่วทุกมุมโลกทำให้ต่างยอมรับและเชื่อมั่นนรถยนต์ที่ผลิ

Aus

โดยตลาดต่างประเทศที่นำเข้ารถยนต์จากเมืองไทยจะมีหลายทวีปทั้งประเทศในกลุ่ม เอเชีย โอชีเนีย ยุโรป ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา ฯลฯ แต่มีประเทศหนึ่งที่นำเข้ารถยนต์จากเมืองไทยมากที่เป็นอันดับต้นๆนั่นคือ ประเทศ ออสเตรเลีย ล่าสุดยอดจำหน่ายประจำปี 2019 ของออสเตรเลีย มียอดจำหน่ายรวมมากถึง 1,062,867 คัน ลดลง 7.8% เมื่อเทียบกับปี 2018 น้อยที่สุดตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา และลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยรถปิกอัพมียอดจำหน่ายมากที่สุดรองลงมาเป็นรถยนต์นั่งและรถยนต์อเนกประสงค์ ส่วนหนึ่งเพราะเขตการค้าเสรีระหว่างไทย กับ ออสเตรเลีย ที่เสียภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าทำให้มีรถยนต์ที่ผลิตจากไทยนำเข้ามายังออสเตรเลียเป็นจำนวนมาก ครั้งนี้ทางทีมงานฯเปิดรายชื่อรุ่นรถจากค่ายรถยนต์ชั้นนำที่ผลิตในไทย ส่งออกไปจำหน่ายที่ออสเตรเลีย เริ่มจาก

 

กลุ่มรถปิกอัพ

1. ISUZU D-MAX

ISUZU

ปิกอัพยอดนิยมติด 1 ใน 5 กลุ่มยอดขายรถปิกอัพที่ขายดีในออสเตรเลีย โดยมีให้เลือกทั้งแบบตอนเดียว แค็ปตอนครึ่ง และ 4 ประตู ทั้งแบบขับสองมาตรฐาน ขับสองยกสูง และขับเคลื่อนสี่ล้อ ด้วยหน้าตาหล่อเข้มในร่างเจเนอเรชั่นที่ 2 พร้อมพลังแรง 3.0 ลิตร 177 แรงม้า ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิด 430 นิวตันเมตรที่ 2,000-2,200 รอบ/นาที พร้อมระบบส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา และ เกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด พร้อมระบบความปลอดภัยครบถ้วนทั้ง ระบบเบรก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ถุงลมนิรภัย 6 จุดรอบคัน ไฟหน้า LED Daytime และระบบควบคุมการทรงตัว ESC ระบบป้องการลื่นไหล TCS ระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน HSA (Hill Start Assist) และระบบ HDC (Hill Descent Control) ระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน ระบบควบคุมการส่ายของส่วนพ่วงท้าย TSC (Trailer Sway Control)

 

2. Toyota Hilux

Toyota

ปิกอัพยอดขายอันดับต้นๆ ของออสเตรเลียที่ฟาดยอดขายมากถึง 47,649 คัน ต้องยกให้รุ่นนี้ ด้วยหน้าตาแบบเดียวกับเวอร์ชั่นไทยรุ่น Rocco มีขุมพลังทั้งดีเซลและเบนซิน ตั้งแต่ขนาดใหญ่สุด เครื่องยนต์ต์ดีเซลเทอร์โบแปรผัน VN Turbo รุ่น 1GD-FTV High-Power 2.8 ลิตร 177 แรงม้าที่ 3,400 รอบ/นาที แรงบิด 450 นิวตันเมตรที่ 1,600-2,400 รอบ/นาที ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด และ 420 นิวตันเมตรที่ 1,400-2,600 รอบ/นาที ในรุ่นเกียร์ธรรมดา IMT 6 สปีด

กับเครื่องยนต์ต์ดีเซลเทอร์โบแปรผัน VN Turbo รุ่น 2GD-FTV High-Power 2.4 ลิตร 150 แรงม้าที่ 3,400 รอบ/นาที แรงบิด 400 นิวตันเมตรที่ 1,600-2,000 รอบ/นาที และเครื่องยนต์เบนซิน 2TR-FE Dual VVT-I 2.7 ลิตร 166 แรงม้าที่ 5,200 รอบ/นาที แรงบิด 245 นิวตันเมตรที่ 4,000 รอบ/นาทีทั้ง 3 ขนาด จับคู่กับระบบส่งกำลังทั้ง เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ให้เลือก พร้อมระบบความปลอดภัย Toyota Safety Sense ทั้งระบบที่ทำงานด้วยเรดาร์ รวมถึงติดตั้งกล้องบริเวณกระจกหน้ารถ ผสานการทำงาน ทั้ง ระบบป้องกันการชนด้านหน้า Pre-crash Safety with pedestrian and daylight cyclist detection พร้อมตรวจจับคนเดินถนนและจักรยาน, ระบบควบคุมความเร็ว Active Cruise Control, ระบบเตือนให้รักษาตำแหน่งเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน Lane Daparture Alert และ ระบบอ่านป้ายจราจร Road Sign Assist มีให้เลือกทั้งแบบ ตอนเดียว แค็ปตอนครึ่ง และ 4 ประตู ทั้งแบบขับสองมาตรฐาน ขับสองยกสูง และขับเคลื่อนสี่ล้อ

 

3. Ford Ranger

Ford

ปิกอัพเกิดมาแกร่งกับความหลากหลายของเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบตั้งแต่ แรงสุด 2.0 ลิตร กับพลังเทอร์โบคู่รหัส YN2Q 213 แรงม้าที่ 3,750 รอบต่อนาที 500 นิวตันเมตร ที่ 1,750-2,000 รอบต่อนาที พร้อมเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบแปรผันในตระกูล PUMA รหัส P5AT 3.2 ลิตร 200 แรงม้า ที่ 3,000 รอบ/นาที แรงบิด 470 นิวตันเมตรที่ 1,750-2,500 รอบ/นาที และ 2.2 ลิตร รหัส P4AT 160 แรงม้าที่ 3,200 รอบ/นาที แรงบิดเพิ่มขึ้นเป็น 385 นิวตันเมตรที่ 1,600-2,600 รอบ/นาที มีให้เลือกทั้งเกียร์ธรรมดากับอัตโนมัติ 6 สปีด และ เกียร์อัตโนมัติ มากสุด 10 สปีด พร้อมความบึกบึนดุดันตามสไตล์ปิกอัพอเมริกัน

 

4. Mitsubishi Triton

Mitsubishi

ปิกอัพค่ายทรีไดมอนด์มาพร้อมคำว่าแกร่ง ลุย ทุกอุปสรรค ด้วยดีไซน์เฉพาะ Advanced Dynamic Shield ผสานเข้ากับเส้นสายอันดุดันของฝากระโปรงหน้า กระจังหน้าสีเงิน พร้อมไฟหน้าใหม่ Projector ติดตั้งอยู่บนตำแหน่งที่สูงขึ้น พร้อมกันชนหน้าดีไซน์เท่พร้อมไฟตัดหมอกหน้า ตัวถังออกแบบใหม่ลงตัวด้วยส่วนโค้งมนตัดกับเส้นสายอันโฉบเฉี่ยวพร้อมซุ้มล้อขนาดใหญ่เน้นความแข็งแกร่งมาพร้อม 2 ทางเลือกแห่งความแรงด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบแปรผัน 4N15 Mivec Clean Diesel 2.4 ลิตร 181 แรงม้าที่ 3,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 430 นิวตันเมตร ที่ 2,500 รอบ/นาที พร้อมเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดพร้อม Sport Mode และเครื่องยนต์เบนซิน ECI 2.4 ลิตร รหัส 4G64 128 แรงม้าที่ 5,250 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 194 นิวตันเมตร ที่ 4,000 รอบ/นาที มาพร้อมระบบขับเคลื่อนสองล้อยกสูง และขับเคลื่อนสี่ล้อแบบ Super Select 4WD II

 

5. Holden Colorado

Chevrolet

ปิกอัพชื่อเดียวกับ Chevrolet Colorado ที่ผลิตจากไทยแปะตรา Holden ออกจำหน่าย หน้าตาคล้ายกับเวอร์ชั่นไทยอย่างชัดเจนทั้งแบบตอนเดียว แค็ปตอนครึ่ง และ 4 ประตู ทั้งแบบ ขับสองยกสูง และขับเคลื่อนสี่ล้อ แต่จำหน่ายเพียงขุมพลังเดียวนั่นคือเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบแปรผัน DURAMAX 2.8 ลิตร 200 แรงม้า ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 500 นิวตันเมตรที่ 2,000 รอบ/นาที ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด และ 440 นิวตันเมตร ที่ 2,000 รอบต่อนาที ในรุ่นเกียร์ธรรมดา 6 สปีด ให้เลือกหลายเกรดตั้งแต่ LS,LS-X,LT, LTZ ไปจนถึงรุ่นท็อป Z71

 

6. Nissan Navara

Nissan

ปิกอัพค่ายเพื่อนที่แสนดี ที่ผลิตจากไทยเช่นกัน ด้วยหน้าความหล่อที่ยังคงเดิมแบบเดียวกับบ้านเราแต่ขุมพลังกลับเด่นกว่าด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ YS23 ที่มีความแรง 2 ทางเลือก เริ่มที่ รหัส YS23DDT 160 แรงม้าที่ 3,750 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 403 นิวตันเมตรที่ 1,500-2,500 รอบ/นาที และเทอร์โบคู่ รหัส YS23DDTT 190 แรงม้าที่ 3,750 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 450 นิวตันเมตรที่ 1,500-2,500 รอบ/นาที จับคู่กับระบบส่งกำลังทั้ง เกียร์ธรรมดา 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 7 สปีด ระบบขับเคลื่อนมีทั้งรุ่น ขับสองมาตรฐาน, ขับสองยกสูง และรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ 4WD สิ่งที่เด่นกว่าเวอร์ชั่นไทยนั่นคือระบบช่วงล่างที่ใช้แบบ Five-link rear suspension พัฒนาใหม่พร้อมคอยล์สปริง 2 ขั้น รวมถึงระบบความปลอดภัยแบบดัยวกับเวอร์ชั่นไทยทั้งกล้องมองภาพรอบคัน ถุงลมนิรภัย 7 ตำแหน่ง ฯลฯ

 

7. Mazda BT-50

mazda

ปิกอัพค่าย Zoom-Zoom ที่ยังใช้พื้นฐานเดียวกับ Ford Ranger เป็นที่นิยมในออสเตรเลีย โดยจำหน่าย 2 ความแรงตั้งแต่ เครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบแปรผันรหัส P5AT 3.2 ลิตร 200 แรงม้า ที่ 3,000 รอบ/นาที แรงบิด 470 นิวตันเมตรที่ 1,750-2,500 รอบ/นาที และ 2.2 ลิตร รหัส P4AT 150 แรงม้าที่ 3,700 รอบ/นาที แรงบิด 375 นิวตันเมตรที่ 1,500-2,500 รอบ/นาที มีให้เลือกทั้งเกียร์ธรรมดากับอัตโนมัติ 6 สปีด พร้อมหน้าตาใหม่แบบเดียวกับ BT-50 Pro Thunder เวอร์ชั่นไทย โดยหน้าตานี้ขายครบทุกตัวถังพร้อมระบบขับเคลื่อนทั้งแบบขับสองมาตรฐาน, ขับสองยกสูง และรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ 4WD

 

กลุ่มรถอเนกประสงค์พื้นฐานจากรถปิกอัพ SUV (PPV)
 

1. ISUZU MU-X

ISUZU

รถยนต์อเนกประสงค์ 7 ที่นั่งพื้นฐานจาก ISUZU D-MAX กับพลังแรง 3.0 ลิตร 177 แรงม้า ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดใหม่สูงขึ้นเป็น 430 นิวตันเมตรที่ 2,000-2,200 รอบ/นาที พร้อมระบบส่งเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด สามารถลากจูงได้สูงถึง 3 ตัน เลือกได้ทั้งขับเคลื่อน 2 ล้อยกสูงและขับเคลื่อน 4 ล้อ Part-Time 4WD Terrain Command พร้อมหน้าตาแบบเดียวกับ THE ONYX เวอร์ชั่นไทยหรูด้วยห้องโดยสารสีดำเข้มและระบบความบันเทิงเต็มรูปแบบ

 

2. Toyota Fortuner

Toyota

อีกหนึ่งยอดนิยมไม่แพ้กับ Toyota Hliux กับอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง มาพร้อมความปลอดภัย Toyota Safety Sense ทั้งระบบที่ทำงานด้วยเรดาร์ รวมถึงติดตั้งกล้องบริเวณกระจกหน้ารถ ผสานการทำงาน ทั้ง ระบบป้องกันการชนด้านหน้า Pre-crash Safety with pedestrian and daylight cyclist detection พร้อมตรวจจับคนเดินถนนและจักรยาน, ระบบควบคุมความเร็ว Active Cruise Control, ระบบเตือนให้รักษาตำแหน่งเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน Lane Daparture Alert และ ระบบอ่านป้ายจราจร Road Sign Assist กับหน้าตาหล่อสง่างามและขุมพลังเดียว 2.8 ลิตร ดีเซลเทอร์โบแปรผัน 177 แรงม้าที่ 3,400 รอบ/นาที แรงบิด 450 นิวตันเมตรที่ 1,600-2,400 รอบ/นาที

จับคู่กับระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด มีโหมดการขับขี่ตอบสนองความต้องการ ได้แก่ Power Mode เน้นกำลังการขับขี่ และยังมี Eco Mode เน้นในเรื่องความประหยัด พร้อม 4WD ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีแบบ A-TRC

 

3. Ford Everest

Ford

ต่างจากเวอร์ชั่นไทตรงที่มีเวอร์ชั่น 5 ที่นั่งจำหน่ายเสริมจากรุ่น 7 ที่นั่ง หน้าตาเบบเดียวกับเวอร์ชั่นไทยทุกประการ แต่ขุมพลังชูเด่นกับเทอร์โบคู่คู่รหัส YN2Q 2.0 213 แรงม้าที่ 3,750 รอบต่อนาที 500 นิวตันเมตร ที่ 1,750-2,000 รอบต่อนาที พร้อมเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบแปรผันในตระกูล PUMA รหัส P5AT 3.2 ลิตร 200 แรงม้า ที่ 3,000 รอบ/นาที แรงบิด 470 นิวตันเมตรที่ 1,750-2,500 รอบ/นาที โดยเกียร์อัตโนมัติมีทั้งแบบ 6 สปีด และ 10 สปีด จำหน่ายตั้งแต่รุ่นโลว์ Amblente, Trend และ Titanium

 

4. Mitsubishi Pajero Sport

Mitsubishi

อีกหนึ่งรุ่นที่มีให้เลือกทั้งรุ่น 5 และ 7 ที่นั่ง หน้าตาใหม่ตามหลังเวอร์ชั่นไทยหล่อในสไตล์ Advanced Dynamic Shield พร้อมออพชั่นเต็มคันด้วย แผงคอนโซลหน้าตกแต่งใหม่พร้อมจอแสดงข้อมูลการขับขี่แบบ LCD ขนาด 8 นิ้วที่ง่ายต่อการอ่าน บันเทิงด้วยจอทัชสกรีน 8 นิ้ว พร้อมระบบนำทาง จอ Roof Monitor ติดตั้งบนเพดานขนาดใหญ่ 12.1 นิ้ว เครื่องปรับอากาศอัตโนมัติแยกอุณหภูมิซ้าย-ขวา Dual Zone พร้อมช่องแอร์บนหลังทั้งตอน 2 และตอน 3 ประตูท้ายเปิด-ปิดด้วยไฟฟ้า ระบบรีโมทคอนโทรล มอบความสะดวกสบายด้วยคำสั่งการทำงานต่างๆ ซึ่งจะส่งการแจ้งเตือนไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ขับขี่ในกรณีที่เปิดประตูท้ายหรือไฟหน้าทิ้งไว้ อีกทั้งยังสามารถสั่งการเปิดและปิดประตูท้ายไฟฟ้าผ่านสมาร์ทโฟน โดยระบบจะส่งคำสั่งการเปิดและปิดประตูท้ายอัตโนมัติเมื่อเจ้าของรถอยู่ในระยะใกล้ตัวรถ และสามารถส่งคำสั่งได้จากทุกที่ในระยะของการเชื่อมต่อรถยนต์ผ่านแอปพลิเคชัน โดยทำงานควบคู่กับระบบกุญแจอัจฉริยะ KOS หรือเมื่ออยู่ในระยะสัญญาณบลูทูธ

เครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบแปรผัน 4N15 Mivec Clean Diesel 2.4 ลิตร 181 แรงม้าที่ 3,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 430 นิวตันเมตร ที่ 2,500 รอบ/นาที พร้อมเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดพร้อม Sport Mode มาพร้อมระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบ Super Select 4WD II โดยจำหน่าย 3 เกรดความหรูทั้งรุ่น GLX ,GLS และ Exceed

 

5. Holden Trailblazer

Chevrolet

อเนกประสงค์พันธุ์แกร่ง มี 3เกรดความหรูตั้งแต่รุ่นโลว์ LT, LTZ และรุ่นท็อป Z71 หล่อแบบเดียวกับเวอร์ชั่นปิกอัพ Colorado ผลิตจากไทยแปะตรา Holden ออกจำหน่าย แต่จำหน่ายเพียงขุมพลังเดียวนั่นคือเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบแปรผัน DURAMAX 2.8 ลิตร 200 แรงม้า ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 500 นิวตันเมตรที่ 2,000 รอบ/นาที ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด และเลือกได้รุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ 4WD เท่านั้น

 

กลุ่มรถยนต์นั่งและรถยนต์อเนกประสงค์ SUV

 

1. Honda Jazz, Honda City, Honda Civic, Honda Accord

็Honda

Honda

รถยนต์นั่งค่าย ฮอนด้า ประกอบจากโรงงานนิคมโรจนะ ทั้ง จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ปราจีนบุรี เริ่มที่ Honda Jazz และ Honda City ใช้เครื่องเดียวกับเวอร์ชั่นไทยขนาด 1.5 ลิตร เบนซิน I-VTEC 120 แรงม้าที่ 6,600 รอบ/นาที แรงบิด 145 นิวตันเมตรที่ 4,800 รอบ/นาทีจับคู่กับเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ CVT

Honda

ส่วนรถยนต์นั่งคอมแพ็คยอดนิยมอย่าง Honda Civic ทั้งรุ่น Sedan และ Hatchbackมาพร้อมระบบความปลอดภัย Honda Sensing และขุมพลังแบบเดียวกับเวอร์ชั่นไทยทั้งเครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบ VTEC Turbo ขนาด 1.5 ลิตร ให้กำลังสูงถึง 173 แรงม้าที่ 5,500 แรงบิดสูงสุด 220 นิวตันเมตร ที่ 1,700-5,500 รอบ/นาที และเครื่องยนต์เบนซิน I-VTEC 1.8 ลิตร I-VTEC 141 แรงม้าที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิด 174 นิวตันเมตร ที่ 4,300 รอบ/นาที ทั้ง 2 ขนาด พร้อมระบบส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT

Honda

เก๋งกลางอย่าง Honda Accord มีจำหน่ายเพียง 2 รุ่นย่อย 2 ความแรงจากขุมพลังเบนซินเทอร์โบ Di VTEC TURBO 1.5 ลิตร 190แรงม้าที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิด 243 นิวตันเมตรที่ 1,500-5,000 รอบ/นาที จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ CVT และเครื่องยนต์เบนซิน I-VTEC 2.0 ลิตร Atkinson-Cycle DOHC ที่มาพร้อมระบบ Sport Hybrid Intelligent Multi Mode Drive (i-MMD) ให้กำลังสูงสุด 145 แรงม้าที่ 6,200 รอบ/นาที แรงบิด 175 นิวตันเมตรที่ 3,500 รอบ/นาที ในภาคเครื่องยนต์ ผสานกับมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทรงพลัง 2 ตัว ให้กำลัง 184 แรงม้าที่ 5,000-6,000 รอบ/นาที แรงบิด 315 นิวตันเมตรที่ 0-2,000 รอบ/นาที และแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ให้กำลังสูงสุดทั้งระบบได้ถึง 215 แรงม้า พร้อมด้วยเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่องไฟฟ้า (E-CVT)

ทั้ง Honda Civic และ Honda Accord มีระบบความปลอดภัยขั้นเทพ Honda Sensing เป็นออพชั่นมาตรฐานตั้งแต่ ระบบเตือนการชนรถและคนเดินถนนพร้อมระบบช่วยเบรก (Collision Mitigation Braking System: CMBS), ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทางเดินรถ (Lane Keeping Assist System: LKAS), ระบบเตือนและช่วยควบคุมเมื่อรถออกนอกช่องทางเดินรถ (Road Departure Mitigation with Lane Departure Warning : RDM with LDM), ระบบควบคุมและปรับความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผันพร้อมระบบปรับความเร็วตามรถยนต์คันหน้าที่ความเร็วต่ำ (Adaptive Cruise Control with Low-Speed Follow: ACC with LSF), ระบบปรับไฟสูงอัตโนมัติ (Auto High-Beam) และระบบที่เวอร์ชั่นไทยไม่มีแต่มีในเวอร์ชั่นออสเตรเลียทั้งระบบเตือนการชนด้านหน้า (Forward Collision Warning : FCW) และ ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน (Lane Departure Warning: LDW)

 

2. Mitsubishi Mirage

Mitsubishi

เก๋งเล็ก Hatchback ค่ายทรีไดมอนด์ ยังคงใช้หน้าตาเดิมโดยที่ยังไม่มีวี่แววว่ารุ่นปรับโฉมจะเปิดตัวในช่วงไหน หล่อด้วยขุมพลังเครื่องยนต์เบนซิน MIVEC 3 สูบขนาด 1.2 ลิตร รุ่น 3A92 78 แรงม้าที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 100 นิวตันเมตรที่ 4,000 รอบต่อนาที เกียร์อัตโนมัติ Invesc III CVT และระบบความปลอดภัยที่เวอร์ชั่นออสเตรเลียไม่มีนั่นคือ ระบบเตือนการชนด้านหน้าตรง พร้อมระบบช่วยชะลอความเร็ว ที่ความเร็วต่ำ (FCM-LS : Forward Collision Mitigation System-Low Speed Range) ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วขณะ เมื่อเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว (เฉพาะด้านหน้า( (RMS-FORWARD : Radar Sensing Misacceleration Mitigation System-Forward) แต่ได้ถุงลมนิรภัยรอบคัน 6 จุด ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (ASC) ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล (TCL) ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน (HSA) โดยจำหน่าย 2 รุ่นย่อยนั่นคือ ES และ LS

 

3. Honda HR-V, Honda CR-V 

Honda

ครอสโอเวอร์ยอดนิยมหน้าใหม่มีตั้งแต่รุ่น VTI, VTI-S, RS, VTI-LX ปรับตามเวอร์ชั่นไทยตั้งแต่ กันชนหน้า-หลัง และกระจังหน้าดีไซน์ใหม่ ไฟหน้าแบบ Full LED พร้อมไฟส่องสว่างสำหรับการขับขี่ในเวลากลางวันแบบ LED และไฟท้าย Tube LED ส่วนล้ออัลลอยคาดยังใช้ขนาด 17 นิ้วลายเดิมพร้อมยางขนาด 215/55 R17 กับขนาดเล็ก 16 นิ้วพร้อมยาง 215/60 R16

พร้อมรุ่น RS ดีไซน์สปอร์ตรอบคันแบบเดียวกับเวอร์ชั่นไทย กันชนหน้า-หลังสไตล์สปอร์ต กระจังหน้าดีไซน์ใหม่โครเมียมรมดำแบบสปอร์ต โฉบเฉี่ยวยิ่งขึ้นด้วยไฟหน้าแบบ Full LED พร้อมไฟส่องสว่างสำหรับการขับขี่ในเวลากลางวันแบบ LED ไฟตัดหมอกหน้า LED และไฟท้าย Tube LED ชายกันกระแทกด้านข้างสีดำแบบสปอร์ต มือจับเปิดประตูด้านหน้าแบบโครเมียมรมดำ กระจกมองข้างสีดำแบบสปอร์ต พร้อมแป้นเหยียบคันเร่งและเบรกแบบสปอร์ต และสัญลักษณ์ RS บนฝากระโปรงท้าย พิเศษกว่านั่น ในรุ่น RS เวอร์ชั่นออสเตรเลีย ใช้ล้ออัลลอย dual-tone ขนาดใหญ่ 18 นิ้ว พร้อมยาง 225/50R18 และสีพิเศษเฉพาะ สีส้ม Phoenix Orange

ด้วยความเป็นรถยนต์ที่นำเข้าจากเมืองไทยจึงใช้ขุมพลังเดียวกันคือเครื่องยนต์เบนซิน I-VTEC 1.8 ลิตร โดยให้กำลังมากถึง 143 แรงม้า ที่ 6,500 รอบต่อนาที ด้วยแรงบิดสูงสุด 172 นิวตันเมตร ที่ 4,300 รอบต่อนาที มาพร้อมกับระบบเกียร์อัตโนมัติ CVT

 

็Honda

ระบบความปลอดภัยบอกได้เลยว่าเหนือกว่าเวอร์ชั่นไทยทั้งระบบแพ็คเก็จความปลอดภัย Advanced Driver Assist System (ADAS) ประกอบด้วย ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน Lane Departure Warning , ระบบเตือนการชนด้านหน้าตรง Forward Collision Warning ระบบควบคุมไฟหน้าสูง-ต่ำ อัตโนมัติ High‐Beam Support และใหม่! ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ หรือ Autonomous Emergency Braking-AEB และ ระบบเตือนและช่วยเบรกที่ความเร็วต่ำ City Brake Active System

Honda

สำหรับ C-Crossover ยอดนิยมอย่าง Honda CR-V มีทั้งแบบ 5 กับ 7 ที่นั่ง หล่อเหมือนเวอร์ชั่นไทยโดยเป็นรถนำเข้าจากประเทศไทย หล่อด้วยกระจังหน้าทรงสี่เหลี่ยมคางหมูแบบ Honda’s Solid Wing Grille design รับกับไฟหน้า Full LED กันชนใหม่ดีไซน์แข็งแกร่งขึ้น ลบภาพเดิมๆ ได้อย่างสิ้นเชิง บั้นท้ายมาพร้อมไฟท้ายดีไซน์รูปตัว L-shaped LED และออกแบบกรอบป้ายทะเบียน ให้อยู่ตำแหน่งต่ำลงมาและ ล้ออัลลอยสีทูโทน ขนาด 18 นิ้ว พร้อมยาง 235/60/R18 และ 17 นิ้ว พร้อมยาง 235/65 R17

ภายใน หรูด้วย แผงคอนโซลด้านหน้าขนาดใหญ่ ติดตั้งพวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่นสามก้าน มาตรวัดพร้อมหน้าจอแสดงข้อมูลการขับขี่แบบ TFT ระบบเพื่อความบันเทิง Advanced Touch infotainment มาพร้อมจอสัมผัสขนาดใหญ่ 7 นิ้ว รองรับ Apple CarPlay และ Android Aut oมอบความสุนทรีย์ด้วยลำโพง 8 ตำแหน่ง รวมถึงเครื่องปรับอากาศแยกอุณหภูมิ ซ้าย-ขวา i-Dual Zone ระบบเบรกมือไฟฟ้า Electric Parking Brake (EPB) หลังคา panoramic sunroof พร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานรองรับไลฟ์สไตล์เช่น ฝากระโปรงท้ายเปิด-ปิดอัตโนมัติแบบไฟฟ้าด้วยระบบแฮนด์ฟรี (Hands-free Power Tailgate) พร้อมควบคุมการเปิด-ปิดด้วยรีโมท

Honda

ขุมพลังสำหรับตลาดออสเตรเลียใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร VTEC Turbo 190 แรงม้าที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิด 240 นิวตันเมตร ที่ 2.000-5.0000 รอบ/นาทีจับคู่กับระบบเกียร์อัตโนมัติ CVT เลือกได้ทั้งรุ่นขับหน้าและขับสี่ 4WD และเครื่องยนต์เบนซิน I-VTEC 2.0 ลิตร 154 แรงม้าที่ 6,500 รอบ/นาทีแรงบิด 189 นิวตันเมตรที่ 4,300 รอบ/นาที ขับหน้า จับคู่กับระบบเกียร์อัตโนมัติ CVT พร้อมระบบความปลอดภัยขั้นเทพ Honda Sensing ไม่ว่าจะเป็น มีระบบความปลอดภัยขั้นเทพ Honda Sensing เป็นออพชั่นมาตรฐานตั้งแต่ ระบบเตือนการชนรถและคนเดินถนนพร้อมระบบช่วยเบรก (Collision Mitigation Braking System: CMBS), ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทางเดินรถ (Lane Keeping Assist System: LKAS), ระบบเตือนและช่วยควบคุมเมื่อรถออกนอกช่องทางเดินรถ (Road Departure Mitigation with Lane Departure Warning : RDM with LDM), ระบบควบคุมและปรับความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผันพร้อมระบบปรับความเร็วตามรถยนต์คันหน้าที่ความเร็วต่ำ (Adaptive Cruise Control with Low-Speed Follow: ACC with LSF), ระบบเตือนการชนด้านหน้า (Forward Collision Warning : FCW) และ ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน (Lane Departure Warning: LDW)

 

4. Mazda CX-3

Mazda

ส่งท้ายด้วรถยนต์ครอสโอเวอร์ค่าย Zoom-Zoom ยังผลิตจากไทยส่งขายออสเตรเลียเช่นเดิม ถึงแม้เตรียมที่จะเปิดตัว Mazda CX-30 ในไทยก็ตามด้วยความคล่องตัวถูกใจคนเมืองหล่อด้วยกระจังหน้า Signature Wing พร้อมกรอบโครเมี่ยมดีไซน์ภายนอกใหม่ ไฟหน้า Projector แบบ LED พร้อมไฟ LED Daytime ปรับอารมณ์ใหม่ให้สปอร์ตขึ้น ล้ออัลลอยสีทูโทนปัดเงาลายใหม่ ขนาด 18 นิ้วพร้อมยางขนาด 215/50R18 กับขนาด 16 นิ้วพร้อมยาง 215/60 R16 คิ้วชายล่างโครเมี่ยมออกแบบใหม่ และไฟท้าย LED ใหม่รับกับความเท่รอบคัน และหลังคาซันรูฟไฟฟ้า

ภายในเหมือนเดิมตั้งแต่แผงคอนโซลหน้ายืดหลัก Human Machine Interface ฟังก์ชั่นต่างๆสามารถหยิบจับใช้งานง่ายพร้อมออพชั่นที่ครบครันไม่ว่าจะเป็น โทนภายในดำ-ขาว ระบบ MZD Connect ขนาด 7 นิ้ว เครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ มาตรวัดรอบเครื่องยนต์พร้อมจอแสดงเหนือพวงมาลัย Active Driving Display แบบสี พวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่น 3 ก้านทรงสปอร์ต คอนโซลเกียร์ออกแบบใหม่ พนักพิงศีรษะด้านหลังออกแบบใหม่ให้ประโยชน์ในการขนของด้วยการพับเบาะได้แบบ 60/40 วัสดุหุ้มหนัง Soft Touch ใหม่ ทั้งแผงประตูและคอนโซลหน้า ใหม่ด้วยระบบเบรกมือแบบปุ่มทำงานด้วยระบบไฟฟ้า หรือ Electronic Parking Brake พร้อม Brake Hold

ขุมพลัง SKYACTIV ประจำการถึง 2 ขนาดทั้งเครื่องยนต์เบนซิน SKYACTIV-G 2.0 ลิตร 150 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิด 195 นิวตันเมตรที่ 2,800 รอบ/นาที กับเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ SKYACTIV-D 1.8 ลิตร 116 แรงม้าที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิด 270 นิวตันเมตร ที่ 1,600-2,600 รอบ/นาที จับคู่กับ เกียร์อัตโนมัติ SKYACTIV-Drive 6 สปีด และเกียร์ธรรมดา SKYACTIV-MT 6 สปีด เลือกได้ทั้งรุ่นขับหน้าและขับสี่ 4WD

พร้อมระบบควบคุมสมรรถนะการขับขี่อัจฉริยะ G-Vectoring Control (GVC) ช่วยให้ควบคุมแรงบิดเครื่องยนต์เพื่อความแม่นยำในการขับขี่ทางโค้งราบรื่นและระบบความปลอดภัย i-Activsense ทั้ง ระบบ Mazda Radar Cruise Control (MRCC) = ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ พร้อมปรับระยะห่างที่ปลอดภัยจากรถคันหน้า ระบบ Advanced Smart City Brake Support (SCBS) = ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ จากการชนปะทะ และระบบกล้องแสดงภาพ 360 องศา รอบทิศทาง (360 View Monitor) ระบบเซ็นเซอร์กะระยะด้านหน้า เป็นต้น

 

ที่มา Caradvice



ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ Autodeft.com 

ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com

5 เรื่องน่าสนใจ