Deft Opinion : กฎหมายใหม่เพื่อความปลอดภัยในการจราจร ....เรื่องที่รัฐต้องเข้าใจมากกว่ากำหนดความเร็ว
- โดย : Autodeft
- 21 เม.ย. 59
- 148,275 อ่าน
เมื่อวานนี้แตกตื่นกันทั้งบางเมื่อรัฐบาลสรุปปัญหาเรื่องอุบัติเหตุและอุบัติภัยในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา พบว่าสงกรานต์ปีนี้ตัวเลขอุบัติเหตทางถนนเพิ่มมากขึ้นและมีจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างน่าตกใจ
การเพิ่มขึ้นของจำนวนอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตในสงกรานต์ปีนี้ ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนน ลงมาจัดการอย่างจริงจัง โดยพุ่งเป้าไปที่การจำกัดความเร็วบนถนน โดยเฉพาะตามรายงานล่าสุด ระบุว่า การขับรถเร็ว เป็นสาเหตุที่สำคัญของอุบัติเหตุที่เพิ่มจำนวนผู้เสียชีวิตสูงขึ้นกว่า 10 ปีที่ผ่านมา รวมถึงรถมอเตอร์ไซค์ยังเป็นพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงที่สุด จนนำมาสู่การนำเสนอเพื่อเตรียมแก้ไขกฎหมายการจราจรครั้งใหญ่
โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ได้นำเสนอการปรับแก้กฎหมาย เพื่อให้ถนนเมืองไทยปลอดภัยมากขึ้น ด้วยควบคุมความเร็วในการขับขี่ ขอให้เขตเมือง จากเดิมไม่เกิน 80 เหลือ 30–40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนนอกเขตเมืองจาก ไม่เกิน 90 เหลือ 30-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเตรียมเร่งแก้ให้เสร็จภายใน 5 เดือนเพื่อทันใช้ในช่วงสงกรานต์ต่อไป
แม้จะเป็นเพียงร่างที่อาจจะมีการปรับปรุงแก้ไขกันต่อไปอีก แต่เมื่อมีการนำเสนอรายงานข่าวดังกล่าว สังคมเกิดกังขาที่ต้องการคำตอบว่า ความเร็วในการขับขี่คือปัจจัยเดียวที่ลดการเกิดอุบัติเหตุได้จริงหรือไม่ รวมถึงความเหมาะสมในการแก้ไขกฏหมายเรื่องความเร็วในระหว่างการเดินทาง ซึ่งอาจจะไม่ได้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการใช้รถใช้ถนนในสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะก่ออันตรายในการขับขี่ มากกว่าจะช่วยป้องปรามอุบัติเหตุ
ย้อนไปเมื่อปี 2013 หนังสือพิมพ์ The Gaurdian ได้กล่าวถึงการพยายามป้องปรามอุบัติเหตุบนทางหลวงสำคัญของยุโรป Autobahn โดยมีความพยายามในการจำกัดความเร็วในการขับขี่เพื่อลดอุบัติเหตุ ให้เหลือเพียง 120 ก.ม./ช.ม จากเดิมที่ไม่มีการกำหนดความเร็วเกินกำหนด มีเพียงคำแนะนำว่าน่าจะใช้ความเร็ว ไม่เกิน 140 ก.ม./ช.ม.
การจำกัดความเร็วและอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมายาวนาน โดย สภาความปลอดภัยในการขนส่งแห่งสหภาพยุโรป หรือ the European Transport Safety Council (ETSC) กล่าวว่า ทางหลวงในเยอรมันมีผู้เสียชีวิต 67% ในส่วนของที่ไม่มีการกำหนดความเร็ว และที่เหลือเสียชีวิตในการเกิดอุบัติเหตุในถนนที่มีการจำกัดความเร็ว
เรืองความเร็วและการเกิดอุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่นักวิชาการและนักวิจัยหลายคนให้ความสนใจ และมีบทสรุปชัดเจนว่า ความร็วมีผลต่อความสุ่มเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แน่นอน มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ที่เกิดอุบัติเหตุจนเสียชีวิต ตลอดจนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุ ที่มีจำนวนทวีมากขึ้นตามไปด้วย
Rune elvik นักวิจัยชาวนอร์เวย์ จากสถาบันเศรษฐศาสตร์การขนส่ง ได้สรุปเรื่องความเร็วและการเกิดอุบัติเหตุผ่านแบบจำลอที่เรียกว่า Power Model โดยแบบจำลองดังกล่าวได้รับกรยอมรับอย่างมากในแวดงวงวิชาการของนอร์เวย์ โดยพวกเขาศึกษาอุบัติเหตุกว่า 100 คดี ที่เกิดขึ้นในนอร์เวย์ และต่างประเทศ โดยแบบจำลองดังกล่าวสรุปว่า
การที่ภาครัฐเพิ่มความเร็วตามกฎหมายกำหนด เพียง 4.8 กิโลเมตร/ชั่วโมงในภาพรวม จะเพิ่มความเร็วที่ผู้คนใช้ในการขับขี่ทั่วไปถึงอีก 16 ก.ม/ช.ม. และจะเพิ่มจำนวนผู้เสียชีวิตในการขับขี่อีกปีละ 25 ราย และมีผู้บาดเจ็บกว่า 100 รายเลยทีเดียว
ถึงแม้จะฟังดูน่ากลัวเพียงใด แต่ในรายงานดังกล่าวก็ยังระบุว่า แบบจำลองดังกล่าว ยังแปรผันตามปัจจัยอื่นที่สำคัญ แตกต่างออกไปตามแต่ละประเทศ เริ่มจากมาตรฐานพฤติกรรมการขับขี่ของคนในชาติ ,จำนวนรถยนต์ที่ใช้งานถนน , รวมถึงลักษรภูมิศาสตร์ของประเทศ ซึ่งแม้ “ความเร็ว” หรือคนขับรถเร็วจะตกเป็นจำเลยสังคม ในเรื่องการก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ...แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุทั้งหมดของการเกิดอุบัติเหตุ
World Health Organization หรือ WHO ที่ออกมาชี้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนรองเพียงประเทศนามิเบีย เมื่อปี กลาย ได้กล่าวถึง เรื่องความเร็วในการขับขี่ที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ ผ่านเอกสารชี้แจงที่ทำออกมาเมื่อปี 2004 ว่า
ความเร็วมีผลกระทบสำคัญทำให้มีผู้บาดเจ็บและเกิดอุบัติภัยทางถนน สืบเนื่องจากระยะเบรก ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นตามความเร็วที่เราใช้ในการขับขี่ โดยในการศึกษาของ WHO ระบุว่า ที่ความเร็ว 50 กม./ช.ม. จะใช้ระยะทางเบรก 13.8 เมตร แต่ที่ความเร็ว 40 ก.ม/ช.ม. เราจะใช้ระยะทางเบรกน้อยกว่า 8.5 เมตร
นอกจากนี้การเพิ่มความเร็วอีกทุก 1 ก.ม./ช.ม. เราจะมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ 3 % จนได้รับการบาดเจ็บ และเพิ่มโอกาสที่จะเสียชีวิต 4-5%
ถึงความเร็วจะมีความเสี่ยงแต่ก็ในรายงานก็ยังชี้ว่า ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุจากความเร็วยังมีปัจจัยอื่นๆที่สำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย โดยแบ่งเป็น 3 ปัจจัย สำคัญได้แก่
1.ปัจจัยทางด้านคนขับ รวมถึง เพศ อายุ และปริมาณแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่ และรวมถึงจำนวนคนโดยสารภายในรถด้วย
2.ปัจจัยทางถนนและยานพาหนะ คือ สภาพและลักษณะของถนน ลักษณะรถที่ขับขี่และกำลังเครื่องยนต์ รวมถึงความเร็วสูงสุดที่รถรุ่นนั้นทำได้
3.การจราจร คือ ความหนาแน่น ของการจราจร ,สภาพอากาศในขณะขับขี่ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ความเร็วไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดความเสียงในการเกิดอุบัติเหตุ และยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ที่เป็นต้นเหตุของความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทาง ด้วยความเร็ว ...แม้ว่าตามรายงานจะระบุว่า การจำกัดความเร็ว จะส่งผลให้ภาพรวมของการเกิดอุบัติเหตุลดลง อย่างชัด หากแต่คำถามยังมีคงต่อไปว่า เรากำลังเดินไปถูกทางหรือไม่ เราได้ทำให้คนตระหนักและเคารพความเร็วตามกฎมายจราจรทางด้านความเร็วที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างจริงจังหรือเปล่า และที่สำคัญเราน่าจะหันมามองวินัยในการจราจรของคนในชาติก่อนหรือไม่ เพื่อทำให้สังคมถนนปลอดภัยมากขึ้น ...ไม่ใช่โทษปัจจัยเรื่องความเร็วเพียงอย่างเดียว
ที่มา Who – Speed-FACT , The Guidance
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com