ยอดขายรถยนต์รวมปี 2561 ทะลุเป้าเกิน 1 ล้านคัน โตโยต้ายังครองแชมป์ที่กว่า 3 แสนคัน

  • โดย : พิสน ลีละหุต
  • 23 ม.ค. 62
  • 9,084 อ่าน

โตโยต้าจัดงานแถลงข่าวสรุปยอดขายรวมรถยนต์ของปี 2561 ว่าสามารถทำยอดขายได้รวมทุกค่าย ทุกประเภทรวมกันได้มากถึง 1,039,158 คัน โดยโตโยต้า ยังคงครองแชมป์ยอดขายมากที่สุดต่อๆไป โดยสามารถทำยอดจำหน่ายได้สูงถึง 315,113 คัน

ยอดขายรถยนต์

คุณ มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ทำการแถลงข่าวยอดขายรถยนต์ปี 2561 พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมในประเทศปี 2562 โดยได้ทำการาสรุปภาพรวมของการจำหน่ายรถยนต์ในปีที่ผ่านมาว่า ยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2561 เติบโตเพิ่มขึ้น 19.2% โดยมียอดขายอยู่ที่ 1,039,158 คัน เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ผลักดันให้ GDP ของประเทศไทยเติบโต 4.2% ส่งผลให้มียอดขายเกินหนึ่งล้านคันเป็นครั้งที่สามในประวัติศาสตร์ของตลาดรถยนต์ไทย โดยมีสถิติภาพรวมออกมาดังนี้

สถิติการขายรถยนต์ในปี 2561 ยอดขายปี 2561 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2560
ปริมาณการขายรวม 1,039,158 +19.2%
รถยนต์นั่ง 397,542 +14.8%
รถเพื่อการพาณิชย์ 641,616 +22.1%

รถกระบะ 1 ตัน

(รวมรถกระบะดัดแปลง)

511,676 +20.6%

รถกระบะ 1 ตัน

(ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

447,069 +22.6%

ในขณะที่โตโยต้า ยังสามารถครองอันดับ 1 ในยอดขายรวมทั้งหมดได้ต่อไป โดยมียอดขาย 315,113 คัน เติบโต 31.2% โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 30.3% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.8 จุด แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 112,394 คัน เพิ่มขึ้น16.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 202,719 คัน เพิ่มขึ้น 41.2% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 177,047 คัน เพิ่มขึ้น 32.7% ส่วนด้านการส่งออก Toyota ได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 293,940 คัน ลดลง 1.8% คิดเป็นมูลค่า 154,560 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ มูลค่า 119,284 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่นำรายได้กลับสู่ประเทศไทยเป็นเงินทั้งสิ้น 273,844 ล้านบาท ลดลง 2.6% นอกจากนี้ยอดการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกจำนวน 588,939 คัน เพิ่มขึ้น 12.5% โดยมีสถิติภาพรวมออกมาดังนี้

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2561

ยอดขายปี 2561 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2560 ส่วนแบ่งตลาด ส่วนแบ่งตลาด เติบโต (จุด)
ปริมาณการขายโตโยต้า 315,113 +31.2% 30.3% +2.8
รถยนต์นั่ง 112,394 +16.3% 28.3% +0.4
รถเพื่อการพาณิชย์ 202,719 +41.2% 31.6% +4.3

รถกระบะ 1 ตัน

(รวมรถกระบะดัดแปลง)

177,047 +32.7% 34.6% +3.2

รถกระบะ 1 ตัน

(ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

150,928 +37.2% 33.8% +3.6

สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ปี 2562 ทาง Toyota ได้ประเมินแนวโน้มตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2562 จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ 1,000,000 คัน เนื่องจากการลงทุนภาครัฐที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชน รวมถึงการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ในตลาดรถยนต์

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2562

ยอดขายประมาณการปี 2562 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2561
ปริมาณการขายรวม 1,000,000 -3.8%
รถยนต์นั่ง 397,542 -3.2%
รถเพื่อการพาณิชย์ 641,616 -4.1%

รถกระบะ 1 ตัน

(รวมรถกระบะดัดแปลง)

511,676 -3.4%

รถกระบะ 1 ตัน

(ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

447,069 -3.7%

สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 270,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 8% คิดเป็นมูลค่า 137,303 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ มูลค่า 120,662 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่นำรายได้กลับสู่ประเทศไทยเป็นเงินทั้งสิ้น 257,965 ล้านบาท ลดลง 5.8% โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงตลาดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ นอกจากนี้แผนการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกจะอยู่ที่ 577,000 คัน ลดลง 2.0%

ประมาณการยอดขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2562

ยอดขายประมาณการปี 2562 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2561 ส่วนแบ่งตลาด
ปริมาณการขายรวม 330,000 +4.7% 33.0%
รถยนต์นั่ง 120,400 +7.1% 31.1%
รถเพื่อการพาณิชย์ 209,600 +3.4% 34.1%

รถกระบะ 1 ตัน

(รวมรถกระบะดัดแปลง)

180,500 +2.0% 36.5%

รถกระบะ 1 ตัน

(ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

154,000 +2.0% 35.8%

ยอดขายรถยนต์

สรุปภาพรวมการจำหน่ายรถยนต์ตลอดทั้งปี 2561 มีดังต่อไปนี้

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 1,039,158 คัน เพิ่มขึ้น 19.2%
     อันดับที่ 1 โตโยต้า 315,113 คัน เพิ่มขึ้น 31.2% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%*
     อันดับที่ 2 อีซูซุ 177,864 คัน เพิ่มขึ้น 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 17.1%*
     อันดับที่ 3 ฮอนด้า 128,290 คัน เพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%*

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 397,542 คัน เพิ่มขึ้น 14.8%
     อันดับที่ 1 โตโยต้า 112,394 คัน เพิ่มขึ้น 16.3% ส่วนแบ่งตลาด 28.3%*
     อันดับที่ 2 ฮอนด้า 95,793 คัน เพิ่มขึ้น 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 24.1%*
     อันดับที่ 3 มาสด้า 51,257 คัน เพิ่มขึ้น 39.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.9%*

3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 641,616 คัน เพิ่มขึ้น 22.1%
     อันดับที่ 1 โตโยต้า 202,719 คัน เพิ่มขึ้น 41.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.6%*
     อันดับที่ 2 อีซูซุ 177,864 คัน เพิ่มขึ้น 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 27.7%*
      อันดับที่ 3 ฟอร์ด 65,842 คัน* เพิ่มขึ้น 18.5%* ส่วนแบ่งตลาด 10.3%*

4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 511,676 คัน เพิ่มขึ้น 20.6%
     อันดับที่ 1 โตโยต้า 177,047 คัน เพิ่มขึ้น 32.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%*
     อันดับที่ 2 อีซูซุ 162,132 คัน เพิ่มขึ้น 10.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.7%*
     อันดับที่ 3 ฟอร์ด 65,145 คัน* เพิ่มขึ้น 23.7%* ส่วนแบ่งตลาด 12.7 %*
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 64,607 คัน
โตโยต้า 26,119 คัน – มิตซูบิชิ 12,982 คัน – อีซูซุ 12,554 คัน – ฟอร์ด 9,628 คัน* – เชฟโรเลต 2,196 คัน

5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 447,069 คัน เพิ่มขึ้น 22.6%
     อันดับที่ 1 โตโยต้า 150,928 คัน เพิ่มขึ้น 37.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%*
     อันดับที่ 2 อีซูซุ 149,578 คัน เพิ่มขึ้น 11.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%*
     อันดับที่ 3 ฟอร์ด 55,517 คัน* เพิ่มขึ้น 24.7% * ส่วนแบ่งตลาด 12.4%*

ยอดขายรถยนต์

นอกจากนี้ มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในปัจจุบัน Toyota กำลังเผชิญกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแนวโน้มใหม่ๆของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้เรามีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์สู่การเป็น องค์กรแห่งการขับเคลื่อน (Mobility Company) รวมถึงการให้บริการทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับระบบการเดินทาง ซึ่งในปี 2560 เราได้ริเริ่มโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” ภายใต้ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาความต้องการและเงื่อนไข Ride Sharing ในเขตชุมชนเมือง จากผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาเราได้การตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งานถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการขับเคลื่อนที่ดียิ่งกว่า (ever-better mobility)

Toyota

นอกจากนี้ โตโยต้ายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและตอบสนองนโยบายของภาครัฐที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเราจึงเริ่มการผลิตแบตเตอรี่ไฮบริดในประเทศให้เร็วขึ้นโดยจะเริ่มการผลิตที่โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าเกตเวย์ในเดือนพฤษภาคมนี้ พร้อมทั้งโตโยต้ายังได้ริเริ่มโครงการการจัดการแบตเตอรี่ทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. Rebuilt : คือ การนำแบตเตอรี่ใช้แล้วมาทำการคัดแยกโมดุล (เซลล์) ที่ยังสามารถใช้งานได้ นำมารวบรวมและจัดเรียงใหม่ ประกอบเป็นแบตเตอรี่ใหม่ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง
2. Reuse : คือ การนำแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วมาทำการคัดแยกโมดุล (เซลล์) ที่ยังคงมีประสิทธิภาพในการเก็บพลังงานไฟฟ้า นำมาประกอบเข้ากับระบบ BMS (Battery management system) ที่ควบคุมการรับและจ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บพลังงานงานสำรอง (Energy storage)
3. Recycle : กรณีที่โมดุลที่ผ่านการคัดแยกไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ จะถูกนำไปผ่านกระบวนการเผาเพื่อคัดแยกแร่ธาตุ และนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ก้อนใหม่
โครงการที่กล่าวมานี้จะช่วยลดการเกิดขยะและเสริมสร้างให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนในประเทศ ภายใต้แนวคิดการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งช่วยลดปริมาณการนำเข้าแบตเตอรี่และยังช่วยให้ลูกค้าสามารถลดต้นทุนการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฮบริดได้อีกด้วย

Toyota

นอกจากนี้เรายังมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานเพื่อสังคมให้ดียิ่งขึ้น (ever-better society) ผ่านกิจกรรมต่างๆ เริ่มจากโครงการ “โตโยต้า เมืองสีเขียว อยุธยา” ศูนย์การเรียนรู้แห่งแรกนอกโรงงานที่ได้เปิดตัวไปในปีที่ผ่านมา ครั้งนี้เราตั้งใจที่ต่อยอดโครงการโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไปยังชุมชนท้องถิ่นอีก 8 จังหวัด ทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ “Toyota City Challenge” ซึ่งเราเชื่อว่าจะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับคนไทยทุกคน

และสำหรับโครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ ที่ผ่านมาเราได้ดำเนินการปรับปรุงธุรกิจชุมชนใน 7 จังหวัด รวมถึงจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 2 แห่ง ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดขอนแก่น ในปีนี้เรามีความตั้งใจอย่างต่อเนื่องในการพัฒนา SMEs โดยวางแผนปรับปรุงธุรกิจชุมชนเพิ่มอีก 10 จังหวัด และจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งที่ 3 อีกทั้งยังร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) และโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์(CIV) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน”

Toyota

 มร.ซึงาตะ กล่าวปิดท้ายว่า “อย่างที่ทุกท่านทราบ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ภายใต้แนวคิด“Start Your Impossible” เพื่อทำในสิ่งที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้...ให้เป็นไปได้ สำหรับประเทศไทย เรามีแผนจะร่วมมือกับคณะกรรมการโอลิมปิกและพาลาลิมปิกแห่งประเทศไทย เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้นักกีฬาชาวไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะตัวแทนประเทศไทยที่กรุงโตเกียวในปี 2563 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมจะเปิดเผยในงานแถลงข่าวที่จะจัดขึ้นในกลางปีนี้”

ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com

5 เรื่องน่าสนใจ