เมาแล้วขับ..คนกลัวถูกจับมากกว่าอุบัติเหตุ

  • โดย : Autodeft
  • 4 พ.ค. 58
  • 12,830 อ่าน

เจาะลึกเรื่องราวเมาแล้วขับ ทำไมเพราะอะไร คนไทยยังมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงในเรื่องราววังวนของการ เมาแล้วขับ

 

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง (Bonn)

 

เป็นประเด็นใหญ่ร้อนแรงในวงสังคม หลังจากที่เมื่อไม่นานมานี้เกิดกรณีสลดเมื่อผู้ขับขี่รถยนต์พุ่งเหมาทีมรถจักรยานยนต์ในจังหวัดเชียงใหม่ จนเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต แต่แม้อุบัติเหตุอาจจะเกิดขึ้นได้ ทว่าการตรวจผลเลือกเบื้องต้นพบปราณแอลกฮอล์ในเลือดสูง จนหลายคนเชื่อว่าผู้ขับขี่อยู่ในสภาวะเมาแล้วขับ

เรื่องเมาแล้วขับนำมาสู่เหตุการณ์สุดสลดมากมาย และหนึ่งในเหตุการณ์ซิ่งพลิกคว่ำเหมาะจักรยาน ก็ไม่ใช่เหตุการณ์แรก และจะว่าไปก็คงไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้ายของพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายของคนไทย แม้ภาครัฐจะมีมาตรการณ์เข้มจ้นในการตรวจจับกวดขันการดื่มสิ่งมึนเมาก่อนมาขับรถ แต่ท้ายที่สุดแล้วคนที่จะป้องกันเรื่องนี้ดีที่สุด คือคนอย่างเราๆท่าน ที่นอกจากจะต้องเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ต้องเปลี่ยนค่านิยมด้วย

[IMAGE1]

 

รถยนต์เป็นการเดินทางที่สะดวก และยังเป็นเครื่องแสดงออกถึงฐานะทางสังคมอย่างเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อสองอย่างนี้มารวมกันไม่แปลกที่คุณจะนำรถยนต์ออกเดินทางไปในยามที่จะปาร์ตี้กับเพื่อน และอย่าแปลกใจที่เพื่อนๆ คุณจะสนุกสุดเหวี่ยงในการดื่มเหล้า เบียร์ หรือ วาย และเมื่อหมดเวลาสนุก จะมีประโยคสนทนาว่า “เฮ้ย!! แถวนี้มีด่านตรงไหนบ้าง”

เรื่องราวนี้เชื่อว่าไม่ว่าใครก้ต้องเคยเจอ ทั้งที่ความจริงแล้ว สิ่งที่ควรสำนึกมากกว่า การโดนตำรวจจับ ศาลตัดสิน เสียเงินทอง และยังต้องทำประโยชน์กับสังคมแล้ว เชื่อหรือไม่ว่า มีคนจำนวนน้อยมากที่จะมานั่งตระหนักว่า ถ้าเราเมาแล้วขับ จะสร้างความเสี่ยงให้กับผู้ใช้ทางคนอื่นๆ กลายเป็นตัวอันตรายบนถนน  

เมื่อไม่นานมานี้ มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงกรณี ดื่มแล้วขับ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งใช้คำกล่าวที่มีความรุนแรงขึ้นว่า   “ดื่มแล้วขับนับเป็นฆาตรกร” ในโฆษณารณรงค์ชุด “ขอชีวิต” ซึ่งสร้างความตระหนักได้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่พอที่จะทำให้คนไทยคิดว่าพวกเขาไม่ควรจะขับเมื่อดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอลล์

เมื่อมองตามกฎหมายในปัจจุบัน เมื่อคุณมีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน  50  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในกระแสเลือด ถือว่าผิดกฎหมายโดยทันที และแม้จะยังไม่สร้างอันตรายใดๆ กับเพื่อร่วม แต่หากพบด่านตรวจกวดขันของเจ้าหน้าที่ แล้วไม่ให้ความร่วมมือในการเป่าทดสอบ ที่เพิ่งมีการปรับแก้ไขเมื่อปลายปี พ.ศ.  2557  ที่ผ่านมา  ในพรบ.การจราจรทางบก  ฉบับที่ 10  พ.ศ. 2557   ในมาตรา 142 มีประเด็นสำคัญที่สิงห์นักดื่มควรทราบว่า ถ้าคุณไม่เป่า ทางเจ้าหน้าที่ จะต้องสงสัยว่าคุณดื่มแอลกอฮอล์ เกินปริมาณกฎหมายกำหนด

และมีสิทธิ ที่จะขอให้ลงโทษ คล้ายกับกรณีที่ถูกตรวจพบ ซึ่งผู้ที่ทางเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่า เมาแล้วขับ แต่ยังไม่ก่อเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น จะมีโทษสูงสุดจำคุก 1 ปี ปรับสูงสุด 20,000 บาท และยังถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่อย่างน้อย 6 เดือน หรืออาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ไปเลยก็ได้

แต่กรณีที่คุณเมาแล้วขับแล้วเป็นเหตุให้รับอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ จะต้องได้รับโทษ รับโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000- 100,000 บาท รวมถึงถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ หรือาจจะพักใบอนุญาตชั่วคราว  อย่างน้อย 1 ปี  ส่วนกรณีทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส จะต้องรับโทษจำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000- 120,000 บาท และพักใช้ใบอนุญาต  2  ปี หรืออาจจะโดนเพิกถอนใบอนุญาต

ส่วนกรณีที่ เมาแล้วขับจน เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต อาจต้องรับโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท รวมถึงต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่อีกด้วย

แม้ว่าหลายคนจะกลัวในเรื่องของทางกฎหมายมากกว่า ในเรื่องราวของอุบัติเหตุ แต่ที่เกิดการห้ามดื่มแล้วขับนั้น ก็เนื่องจากเมื่อคุณดื่มแอลกฮอลล์แล้ว เวลาการคิดตัดสินใจจะช้าลงกว่าปกติ  ซึ่งทำให้เวลาคิดในระหว่างการขับขี่ ไม่ว่าจะการใช้พวงมาลัยบังคับทิศทางหรือ ใช้เวลาคิดในการเบรกนั้นใช้เวลามากกว่าปกติ จึงเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าการขับขี่ปกติ

เมื่อช่วงปีพ.ศ.  2556   ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้เผยบทความที่น่าสนใจโดยใช้ชื่อเรื่องว่า “ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขับรถโดยไม่ผิดกฎหมาย” ซึ่งในบทความดังกล่าวได้พูดถึงเรื่องที่น่าสนใจที่นักดื่มควรจะทราบเอาไว้ โดยเฉพาะปริมาตรแอลกอฮอล์ในเลือดจากเครื่องดื่ม ประเภทต่างๆ ซึ่งที่หลายคนมักไม่ทราบ คงไม่พ้นว่า ดื่มเท่าไร จึงจะผิดกฎหมาย ด้วยเวลาเราดื่มจะคิดเป็นแก้ว ขวด หรือ ทาวเวอร์ ตามแต่ร้านค้าจะสรรหามานำเสนอ

แต่เชื่อหรือไม่ครับว่า จากข้อกำหนดทางกฎหมายที่  50   มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ที่คุณจะถูกเป่าแล้วมีความผิดนั้น ปริมาณดังกล่าว เทียบเท่าเพียงเบียร์ 1  ขวด หรือ  2  กระป๋อง ก็มากพอที่จะทำให้คุณเข้าซังเต ต้องบำเพ็ญประโยชน์กันแล้ว

[IMAGE2]

 

ต่เช่นเดียวกันในบทความยังพูดถึงเรื่องที่น่าสนใจ ว่า ขนาดน้ำหนักและความสูงของแต่ละคน มีผลต่อปริมาตรแอลกฮอลล์ที่จะวัดได้ โดยเครื่องดื่มประเภทวิสกี้ 35 ดีกรี และ 43 ดีกรี ผู้ดื่มที่มีส่วนสูง 170 ซม. น้ำหนักมากกว่า 58 กก. สามารถดื่มวิสกี้ปริมาณ 100 มิลลิลิตร และ 80 มิลลิลิตร ตามลำดับ  ส่วนผู้หญิงสูงเฉลี่ย 158 ซม. น้ำหนัก 45 – 55 กิโลกรัมดื่มวิสกี้ปริมาณ 40 มิลลิลิตร และ 60 มิลลิลิตร (1 ฝาเท่ากับ 10 มิลลิลิตร)

แม้ว่าเรื่องราวเมาแล้วขับดูจะอันตรายมาก แต่การกวดขันของเจ้าหน้าที่ก็พอจะป้องปรามเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย แต่เมื่อปี 2013 ทีม นักวิจัยจาก Utrecht University และ the University of the West of England ได้ทำงานวิจัยที่น่าสนใจ โดยพวกเขาชี้ว่าคนที่เมาค้างก็อันตรายเช่นกัน

การวิจัยที่กับกลุ่มตัวอย่างด้วยการให้ให้ดื่มเครื่องดื่ม 10  แก้ว จากนั้นขับรถในตอนเช้าวันต่อมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมขับรถประดุจพวกเขาเป็นพวกเมาแล้วขับ เท่ากับผู้ที่ดื่มแล้วขับ  50  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายใดครอบคลุม

ดร. มาร์ค คิง หัวหน้านักวิจัยอาวุโส ที่ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุและความปลอดภัยทางถนน เปิดเผยว่า กฎหมายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการตรวจแอลกฮอลล์ในเลือดนั้น ไม่มีทางที่จะเอาชนะพวกเมาค้างได้

“สิ่งเดียวที่เราทำได้กับพวกเมาแล้วขับและคนที่เมาค้างนั้น ไม่พ้นการให้คำปรึกษา และกล่าวถึงผลร้านยที่ตามมาเมื่อคุณเมาแล้วขับ “

แม้ว่าปัจจุบันจะมีกฎหมายที่รุนแรงในการปราบปรามพวกเมาแล้วขับบนถนนในยามค่ำคืน แต่ก็ยังมีช่องโหว่ในเรื่องการไม่สามารถขจัดพวกเมาค้างได้ และยิ่งจะร้ายไปกว่านั้น เมื่อคนไม่ได้ตระหนักว่าพวกเขามาแล้วจะก่ออันตราย แต่กลับกลัวกฎหมายมากกว่า ในความเป็นจริง

 

ที่มา ประกอบเนื้อหา (บรรณานุกรม) – ศิริราชพยาบาล  , Medical daily

 

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง (Bonn)

ติดตามผู้สื่อข่าวและนักทดสอบรถยนต์ นาย ณัฐยศ ชูบรรจง ได้ที่ Facebook ,Twiter (@nattayodc)

 

ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com

 

5 เรื่องน่าสนใจ