เต็มเป้า…สรุปยอดขายรถใหม่ตลอดปี 2565 จบที่ 849,388 คัน เพิ่มขึ้น 11.9% Toyota ยังแชมป์ยอดขายสูงสุด

  • โดย : พิสน ลีละหุต
  • 26 ม.ค. 66
  • 7,226 อ่าน

ตัวเลขการขายรถใหม่ยังคงมีภาพรวมที่ดีขึ้น โดยสามารถทำยอดขายรวมตลอดทั้งปีทะลุ 8 แสนคัน ถึงแม้ว่าตัวเลขในเดือนสุดท้ายจะลดลงจากปีก่อนก็ตาม โดย Toyota ยังคงครองแชมป์ภาพรวมยอดขายสูงสุดเช่นเคย

ยอดขาย 2565

ปี 2565 ถือเป็นปีที่อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยยังอยู่ในภาวะการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีปัจจัยบวกจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของภาครัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และการส่งออกที่เริ่มเติบโตดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ตลอดจนสถานการณ์ของ COVID-19 ที่มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศของภาครัฐ รวมถึงการทยอยฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจากการเปิดประเทศ มีส่วนช่วยให้สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ดียิ่งขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยด้านลบอื่นๆที่ส่งผลกระทบอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่นปัญหาการขาดแคลน เซมิคอนดัคเตอร์ที่ยังคงยืดเยื้อส่งผลกระทบกับภาคการผลิตในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก รวมถึงปัจจัยอื่นๆจากสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวม อาทิ ปัญหาด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศจากต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรืออยู่ในระดับสูง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ความผันผวนของสถานการณ์การเงินโลก ราคาพลังงานและวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและการส่งออก รวมถึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทย แต่ในภาพรวมแล้วยังถือว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนมายังตลาดรถยนต์ในประเทศด้วยเช่นกัน โดยตัวเลขยอดขายรวมภายในประเทศปี 2565 อยู่ที่  849,388 คัน หรือเพิ่มขึ้น 11.9% เมื่อเทียบกับปี 2564

สถิติการขายรถยนต์ในปี 2565

  • ปริมาณการขายรวม จำนวน 849,388 คัน เพิ่มขึ้น 11.9%
  • รถยนต์นั่ง จำนวน  265,069 คัน เพิ่มขึ้น 5.3%
  • รถเพื่อการพาณิชย์ จำนวน 584,319 คัน +15.2%
  • รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) จำนวน 454,875 คัน เพิ่มขึ้น 15.6%
  • รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) จำนวน 388,298 คัน เพิ่มขึ้น 13.7%

ยอดขาย

สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2566 คาดว่าจะยังคงกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด จากทิศทางที่ดีในการลดระดับโควิด-19 สู่โรคติดต่อเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุข ส่งผลให้การดำเนินชีวิตผู้คนเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ พร้อมกับการเปิดประเทศส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่มีส่วนช่วยเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตก็จะค่อยๆ คลี่คลายลงเช่นกัน อันจะส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มทยอยกลับคืนสู่สภาวะปกติและคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2566 จะอยู่ที่ 900,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 6.0% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2566

  • ปริมาณการขายรวม จำนวน 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 6.0%
  • รถยนต์นั่ง จำนวน 301,500 คัน เพิ่มขึ้น 13.7%
  • รถเพื่อการพาณิชย์ จำนวน 598,500 คัน เพิ่มขึ้น 2.4%

ยอดขาย

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2565

ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 82,799 คัน ลดลง 9.0%

  • อันดับที่ 1 Toyota 30,197 คัน เพิ่มขึ้น 11.2%
  • อันดับที่ 2 Isuzu 18,216 คัน ลดลง 3.1%
  • อันดับที่ 3 Honda 8,324 คัน ลดลง 28.0%

ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 24,698 คัน ลดลง 22.6%

  • อันดับที่ 1 Toyota 8,941 คัน เพิ่มขึ้น 21.7 %
  • อันดับที่ 2 Honda 5,786 คัน ลดลง 34.0%
  • อันดับที่ 3 Mitsubishi 1,824 คัน ลดลง 26.6%    

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 58,101 คัน ลดลง 1.7%

  • อันดับที่ 1 Toyota 21,256 คัน เพิ่มขึ้น 7.3%
  • อันดับที่ 2 Isuzu 18,216 คัน ลดลง 3.1%
  • อันดับที่ 3 Ford  5,543 คัน เพิ่มขึ้น 34.6%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 43,322 คัน เพิ่มขึ้น 1.3%

  • อันดับที่ 1 Toyota 18,083 คัน เพิ่มขึ้น  8.1%
  • อันดับที่  2 Isuzu 16,638 คัน ลดลง 1.6%
  • อันดับที่ 3 Ford 5,543 คัน เพิ่มขึ้น 34.6%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 7,831 คัน Isuzu 2,769 คัน - Toyota 2,758 คัน – Ford 1,565 คัน – Mitsubishi 619 คัน – Nissan 120 คัน

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 35,491 คัน ลดลง 2.8%

  • อันดับที่ 1 Toyota 15,325 คัน เพิ่มขึ้น 7.4%
  • อันดับที่ 2 Isuzu 13,869 คัน ลดลง 7.0% 
  • อันดับที่ 3 Ford 3,978 คัน เพิ่มขึ้น 16.7%

ยอดขาย

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2565

ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 849,388 คัน เพิ่มขึ้น 11.9%

  • อันดับที่ 1 Toyota 288,809 คัน เพิ่มขึ้น 20.5 %
  • อันดับที่ 2 Isuzu 212,491 คัน เพิ่มขึ้น 15.4%
  • อันดับที่ 3 Honda  82,842 คัน ลดลง 6.6%

 

ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 265,069 คัน เพิ่มขึ้น 5.3%

  • อันดับที่ 1 Toyota 82,738 คัน เพิ่มขึ้น 32.6%
  • อันดับที่ 2 Honda 61,665 คัน ลดลง 19.8%
  • อันดับที่ 3 Mitsubishi 21,157 คัน เพิ่มขึ้น 14.6%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 584,319 คัน เพิ่มขึ้น 15.2%

  • อันดับที่ 1 Isuzu 212,491 คัน เพิ่มขึ้น 15.4%
  • อันดับที่ 2 Toyota 206,071 คัน เพิ่มขึ้น 16.2%
  • อันดับที่ 3 Ford 43,582 คัน เพิ่มขึ้น 34.8%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 454,875 คัน เพิ่มขึ้น 15.6%

  • อันดับที่ 1 Isuzu 195,945 คัน เพิ่มขึ้น 17.2%
  • อันดับที่ 2 Toyota 175,786 คัน เพิ่มขึ้น 16.0%
  • อันดับที่ 3 Ford 43,582 คัน เพิ่มขึ้น 34.8%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 66,577 คัน Toyota 27,685 คัน - Isuzu 20,520 คัน - Ford 9,765 คัน – Mitsubishi 7,405 คัน – Nissan 1,202 คัน

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 388,298 คัน เพิ่มขึ้น 13.7%

  • อันดับที่ 1 Isuzu 175,425 คัน เพิ่มขึ้น 16.4%
  • อันดับที่ 2 Toyota 148,101 คัน เพิ่มขึ้น 15.1%
  • อันดับที่ 3 Ford 33,817 คัน เพิ่มขึ้น 23.9%

ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com

5 เรื่องน่าสนใจ