สรุปยอดขายรถใหม่ครึ่งปี สัญญาณดียังไม่มา ติดลบ 5% หวังเข็นยอดครึ่งปีหลังให้บวก

  • โดย : พิสน ลีละหุต
  • 30 ก.ค. 66
  • 7,778 อ่าน

สรุปยอดขายรถยนต์ใหม่ 2566 ในครึ่งปีแรก ยังไม่ค่อยมีสัญญาณดีมากขึ้นเท่าไหร่ หลังรวมตัวเลขแล้วยังติดลบ 5% เมื่อเทียบกับปีก่อน หวังเอาไว้ว่าครึ่งปีหลังจะสามารถเข็นตัวเลขให้จบเกินเป้า แล้วได้ตัวเลขบวกเพิ่มเป็น 0.7 %

ยอดขายรถ

อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก ยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว โดยมีปัจจัยบวกจากแรงหนุนด้านอุปสงค์ของสภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่เริ่มขยายตัวดีขึ้นในปีนี้ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีทิศทางกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มมีการฟื้นตัว ส่งผลให้มีความต้องการใช้รถยนต์มากขึ้น ตลอดจนแรงกระตุ้นจูงใจผู้บริโภคด้วยการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ พร้อมแคมเปญการขายเชิงรุกของบรรดาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์โดยรวมในช่วงหลังนี้ อันเป็นผลมาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ภาวะสินเชื่อตึงตัว และความผันผวนทางเศรษฐกิจในช่วงของการเลือกตั้ง ซึ่งก่อให้เกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อทั้งจากภาคธุรกิจและภาคประชาชน ที่ต่างเฝ้ารอความชัดเจนในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ส่งผลให้ตัวเลขยอดขายตลาดรวมในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 406,131 คัน ลดลง 5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว"

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศ

 ม.ค. - มิ.ย. 2566

ยอดขายปี 2566

เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2565

  • ปริมาณการขายรวม

406,131 คัน    

-5.0 %

  • รถยนต์นั่ง

148,087 คัน    

+9.0 %

  • รถเพื่อการพาณิชย์

258,044 คัน    

-11.4 %

  • รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)

182,952 คัน    

-19.7 %

  • รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

149,685 คัน   

-24.5 %

 

ด้วยเหตุปัจจัยในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ทำให้การบริโภคของภาคเอกชนและภาคบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลดลง การสนับสนุนการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนในโครงการต่าง ๆ ตลอดจนการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่และแคมเปญส่งเสริมการขายจากค่ายรถต่าง ๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง จะส่งผลต่อทิศทางของเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์โดยรวม เชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้น่าจะยังคงฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2566 จะอยู่ที่ 855,000 คัน เพิ่มขึ้น  0.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

 

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2566

ยอดขาย

ประมาณการปี 2566

เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2565

  • ปริมาณการขายรวม

855,000 คัน    

+0.7 %

  • รถยนต์นั่ง

316,900 คัน    

+19.6 %

  • รถเพื่อการพาณิชย์

538,100 คัน    

-7.9 %

 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2566

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,440 คัน ลดลง 5.2%

อันดับที่ 1 Toyota 20,877 คัน ลดลง 0.7%
อันดับที่ 2 Isuzu  12,505 คัน ลดลง 37.9%
อันดับที่ 3 Honda 7,067 คัน เพิ่มขึ้น 60.8%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 24,333 คัน เพิ่มขึ้น 24.2%

อันดับที่ 1 Toyota 7,411 คัน เพิ่มขึ้น 26.0%
อันดับที่ 2 Honda 4,441 คัน เพิ่มขึ้น 76.4%
อันดับที่ 3 Mitsubishi 1,351 คัน ลดลง 34.7%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,107 คัน ลดลง  17.1%

อันดับที่ 1 Toyota 13,446 คัน ลดลง 11.1%
อันดับที่ 2 Isuzu 12,505 คัน ลดลง 37.9%
อันดับที่ 3 Ford 3,215 คัน เพิ่มขึ้น 16.7%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 27,339 คัน ลดลง 27.3%

อันดับที่ 1 Isuzu 11,100 คัน ลดลง 40.5%
อันดับที่ 2 Toyota 10,803 คัน ลดลง 14.5%
อันดับที่ 3 Ford 3,215 คัน เพิ่มขึ้น 16.7%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 5,200 คัน Isuzu 2,007 คัน - Toyota 1,561 คัน – Ford 1,164 คัน – Mitsubishi 303 คัน –Nissan 165 คัน

5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 22,139 คัน ลดลง 33.8%

อันดับที่ 1 Toyota 9,242 คัน ลดลง 17.3%
อันดับที่ 2 Isuzu 9,093 คัน ลดลง 46.7%
อันดับที่ 3 Ford 2,051 คัน ลดลง 13.1%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 406,131 คัน ลดลง 5.0%

อันดับที่ 1 Toyota 136,859 คัน ลดลง 3.6%
อันดับที่ 2 Isuzu 86,281 คัน ลดลง 21.5%
อันดับที่ 3 Honda 46,134 คัน เพิ่มขึ้น    14.9%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 148,087 คัน เพิ่มขึ้น 9.0%

อันดับที่ 1 Toyota 51,041 คัน เพิ่มขึ้น 31.2%
อันดับที่ 2 Honda 30,425 คัน เพิ่มขึ้น 2.9 %
อันดับที่ 3  Mitsubishi 9,578 คัน ลดลง 14.3%

3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 258,044 คัน ลดลง 11.4%

อันดับที่ 1 Isuzu 86,281 คัน ลดลง 21.5%
อันดับที่ 2 Toyota 85,818 คัน ลดลง 16.8%
อันดับที่ 3 Ford 20,117 คัน เพิ่มขึ้น 35.0%

4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 182,952 คัน ลดลง 19.7%

อันดับที่ 1 Isuzu 78,633 คัน ลดลง 22.5%
อันดับที่ 2 Toyota 70,544 คัน ลดลง 20.9%
อันดับที่ 3 Ford 20,117 คัน เพิ่มขึ้น 35.0%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 33,267 คัน Isuzu 11,953 คัน – Toyota 11,762 คัน – Ford 6,270 คัน – Mitsubishi 2,593  คัน – Nissan 689 คัน

5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 149,685 คัน ลดลง 24.5%

อันดับที่ 1 Isuzu 66,680 คัน  ลดลง 27.8%     
อันดับที่ 2 Toyota 58,782 คัน  ลดลง 22.4%
อันดับที่ 3 Ford 13,847 คัน เพิ่มขึ้น 9.4%

ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com

5 เรื่องน่าสนใจ